วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

งานทดแทน หัวข้อ การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning )




การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning : SDL) 

 การเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-directed learning) เป็นการเรียนรู้ซึ่งผู้เรียนรับผิดชอบในการวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผล ความก้าวหน้าของการเรียนของตนเองเป็นลักษณะซึ่งผู้เรียนทุกคนมีอยู่ในขณะที่อยู่ในสถานการณ์การเรียนรู้ผู้เรียนสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้และทักษะที่เกิดจากการเรียนจากสถานการณ์หนึ่งไปยังอีกสถานการณ์หนึ่งได้ 

1. Availability วิธีเรียนชนิดนี้จะเรียน เมื่อไรที่ไหน ก็ได้ตามความพอใจโดยเลือกเรียนตามเวลาที่ผู้เรียนว่าง ทำให้ผู้เรียนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากผู้เรียนบางคนทำให้การเรียนล้มเหลวได้


2. Self-paced เมื่อผู้เรียนเลือกสถานที่ได้ตามความพอใจแล้วผู้เรียนจะใช้เวลาในการทำความเข้าใจบทเรียนได้เต็มที่ บางคนอาจใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อหนึ่งบทเรียน บางคนอาจใช้เวลา 5 ชั่วโมงก็ได้ แต่ประสิทธิภาพเท่ากัน คือ เข้าใจทั้งบทเรียน เนื่องจากความสามารถในการรับรู้ของผู้เรียนแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน

3. Objectives แบบเรียนที่ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง ต้องบอกวัตถุประสงค์ในแต่ละบทไว้ให้ชัดเจนเพราะถ้าผู้เรียนสามารถตอบคำถามของวัตถุประสงค์ได้ทั้งหมดแสดงว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนนั้น ๆ

4. Interaction การมีปฏิสัมพันธ์กันในขณะเรียน ช่วยให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียน โดยผู้สอนอาจชี้แนะหรือให้การปรึกษา เกี่ยวกับการวางแผนกิจกรรมการเรียน

5. Tutor Help ผู้สอนมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน

6. Test as Learning Situation ในบทเรียนหนึ่ง ๆ จะมีแบบทดสอบ ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือวัดตามวัตถุประสงค์ ไม่ใช่การประเมินผลการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนสอบได้หรือตก หรือในภาคปฏิบัติอาจใช้วิธีทดสอบเป็นรายบุคคล

7. การเลือกวิธีเรียน ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีวิธีเรียนแบบที่ตนชอบ ฉะนั้นผู้เรียนสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะกับตนเองขณะเดียวกันผู้เรียนก็มีอิสระในการเลือกเรียนบทเรียนก่อนหลังได้การเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-directed learning) เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีความตระหนักและรับผิดชอบต่อแผนการเรียนของตนเอง
ผู้เรียนจะทำการวางแผนและกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ เลือกแหล่งข้อมูลเลือกวิธีการเรียนรู้ และการประเมินผลด้วยตนเอง โดยจะมีผู้ช่วยเหลือหรือไม่มีผู้ช่วยเหลือก็ได้ามความพอใจโดยเลือกตามเวลาที่ผู้เรียนว่าง ทำให้ผู้เรียนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากผู้เรียนบางคนทำให้การเรียนล้มเหลวได้วิธีเรียนชนิดนี้จะเรียน เมื่อไรที่ไหน ก็ได้ตามความพอใจโดยเลือกเรียนตามเวลาที่ผู้เรียนว่าง 
ทำให้ผู้เรียนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากผู้เรียนบางคนทำให้การเรียนล้มเหลวได้

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงาน (Project-Based Instruction)

@_@ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงาน (Project-Based Instruction) @_@

             การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงาน (Project-Based Instruction)  เป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีครูคอยให้คำปรึกษาเป็นผู้ชี้แนะ คอยแนะนำ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน โดยการกำหนดสถานการณ์ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้เพื่อนำมาแก้ปัญหา นำความสนใจที่เกิดจากตัวผู้เรียนมาใช้ในการทำกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง เพื่อนำไปสู่การเพิ่มความรู้ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติ การฟังและการสังเกตจากผู้เชี่ยวชาญ  โดยผู้เรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม เน้นประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้เรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริงอย่างเป็นระบบ  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง  ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา  ได้ทำการทดลอง  สำรวจ ค้นคว้า  ประดิษฐ์คิดค้น ผู้เรียนจะรวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์ ทดสอบเพื่อแก้ปัญหาที่ต้องการค้นหาคำตอบ ผู้เรียนจะนำความรู้จากชั้นเรียนมาบูรณาการในการแก้ปัญหา ค้นหาคำตอบ เป็นกระบวนการค้นพบนำไปสู่การเรียนรู้ ผู้เรียนจะเกิดทักษะการทำงานกับผู้อื่น และทักษะการจัดการ ได้พิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง  รู้จักการวางแผนการทำงาน  ฝึกการเป็นผู้นำ  ผู้ตาม  ตลอดจนได้พัฒนากระบวนการคิดที่จะนำมาสู่การสรุปความรู้ใหม่ และประเมินผลจากสถานการณ์จริง โดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียน


วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Instruction)

วิธีสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based  Learning : PBL )

Picture from http://askatechteacher.com/great-kids-websites/problem-solving/



               


 เมื่อดูจากรูปคำศัพท์  Problem – based Learning  คำว่า  Problem  แปลว่า ปัญหา  based  แปลว่า  ฐาน  พื้นฐาน Learning แปลว่า การเรียนรู้ Problem – based Learning  หรือ PBL  ก็คือ วิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่ง  ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ โดยการนำปัญหามาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้     
                การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก  เป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้    เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา   รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษา ไปพร้อมกันด้วย     การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก 
ถ้ามองในแง่ของ ยุทธศาสตร์การสอน    PBL เป็นเทคนิคการสอน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง    จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดหลายรูปแบบ เช่น การคิดวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

ลักษณะทั่วไปของ การเรียนรู้แบบ PBL
                รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบ การใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ  PBL  พอจะ                    กล่าวได้ดังนี้
                1. ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered                        learning)
                2. จัดกลุ่มผู้เรียนให้มีขนาดเล็ก (ประมาณ 3  5  คน)
                3. ครูทำหน้าที่ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)   หรือผู้ให้คำ                                  แนะนำ  (guide)
                4.ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น (สิ่งเร้า)ให้เกิดการเรียนรู้
                5. ลักษณะของปัญหาที่นำมาใช้ ต้องมีลักษณะคลุมเครือ  ไม่ชัดเจน   มีวิธี                       แก้ไขปัญหาได้อย่างหลากหลาย  อาจมีคำตอบได้หลายคำตอบ
                6. ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (self-                           directed learning) 
                7.การประเมินผล  ใช้การประเมินผลจากสถานการณ์จริง(authentic                                 assessment)  ดูจากความสามารถในการปฏิบัติ ของผู้เรียน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Instruction)