วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

งานทดแทน หัวข้อ การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning )




การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning : SDL) 

 การเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-directed learning) เป็นการเรียนรู้ซึ่งผู้เรียนรับผิดชอบในการวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผล ความก้าวหน้าของการเรียนของตนเองเป็นลักษณะซึ่งผู้เรียนทุกคนมีอยู่ในขณะที่อยู่ในสถานการณ์การเรียนรู้ผู้เรียนสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้และทักษะที่เกิดจากการเรียนจากสถานการณ์หนึ่งไปยังอีกสถานการณ์หนึ่งได้ 

1. Availability วิธีเรียนชนิดนี้จะเรียน เมื่อไรที่ไหน ก็ได้ตามความพอใจโดยเลือกเรียนตามเวลาที่ผู้เรียนว่าง ทำให้ผู้เรียนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากผู้เรียนบางคนทำให้การเรียนล้มเหลวได้


2. Self-paced เมื่อผู้เรียนเลือกสถานที่ได้ตามความพอใจแล้วผู้เรียนจะใช้เวลาในการทำความเข้าใจบทเรียนได้เต็มที่ บางคนอาจใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อหนึ่งบทเรียน บางคนอาจใช้เวลา 5 ชั่วโมงก็ได้ แต่ประสิทธิภาพเท่ากัน คือ เข้าใจทั้งบทเรียน เนื่องจากความสามารถในการรับรู้ของผู้เรียนแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน

3. Objectives แบบเรียนที่ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง ต้องบอกวัตถุประสงค์ในแต่ละบทไว้ให้ชัดเจนเพราะถ้าผู้เรียนสามารถตอบคำถามของวัตถุประสงค์ได้ทั้งหมดแสดงว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนนั้น ๆ

4. Interaction การมีปฏิสัมพันธ์กันในขณะเรียน ช่วยให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียน โดยผู้สอนอาจชี้แนะหรือให้การปรึกษา เกี่ยวกับการวางแผนกิจกรรมการเรียน

5. Tutor Help ผู้สอนมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน

6. Test as Learning Situation ในบทเรียนหนึ่ง ๆ จะมีแบบทดสอบ ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือวัดตามวัตถุประสงค์ ไม่ใช่การประเมินผลการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนสอบได้หรือตก หรือในภาคปฏิบัติอาจใช้วิธีทดสอบเป็นรายบุคคล

7. การเลือกวิธีเรียน ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีวิธีเรียนแบบที่ตนชอบ ฉะนั้นผู้เรียนสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะกับตนเองขณะเดียวกันผู้เรียนก็มีอิสระในการเลือกเรียนบทเรียนก่อนหลังได้การเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-directed learning) เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีความตระหนักและรับผิดชอบต่อแผนการเรียนของตนเอง
ผู้เรียนจะทำการวางแผนและกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ เลือกแหล่งข้อมูลเลือกวิธีการเรียนรู้ และการประเมินผลด้วยตนเอง โดยจะมีผู้ช่วยเหลือหรือไม่มีผู้ช่วยเหลือก็ได้ามความพอใจโดยเลือกตามเวลาที่ผู้เรียนว่าง ทำให้ผู้เรียนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากผู้เรียนบางคนทำให้การเรียนล้มเหลวได้วิธีเรียนชนิดนี้จะเรียน เมื่อไรที่ไหน ก็ได้ตามความพอใจโดยเลือกเรียนตามเวลาที่ผู้เรียนว่าง 
ทำให้ผู้เรียนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากผู้เรียนบางคนทำให้การเรียนล้มเหลวได้

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงาน (Project-Based Instruction)

@_@ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงาน (Project-Based Instruction) @_@

             การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงาน (Project-Based Instruction)  เป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีครูคอยให้คำปรึกษาเป็นผู้ชี้แนะ คอยแนะนำ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน โดยการกำหนดสถานการณ์ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้เพื่อนำมาแก้ปัญหา นำความสนใจที่เกิดจากตัวผู้เรียนมาใช้ในการทำกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง เพื่อนำไปสู่การเพิ่มความรู้ที่ได้จากการลงมือปฏิบัติ การฟังและการสังเกตจากผู้เชี่ยวชาญ  โดยผู้เรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม เน้นประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้เรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริงอย่างเป็นระบบ  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง  ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา  ได้ทำการทดลอง  สำรวจ ค้นคว้า  ประดิษฐ์คิดค้น ผู้เรียนจะรวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์ ทดสอบเพื่อแก้ปัญหาที่ต้องการค้นหาคำตอบ ผู้เรียนจะนำความรู้จากชั้นเรียนมาบูรณาการในการแก้ปัญหา ค้นหาคำตอบ เป็นกระบวนการค้นพบนำไปสู่การเรียนรู้ ผู้เรียนจะเกิดทักษะการทำงานกับผู้อื่น และทักษะการจัดการ ได้พิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง  รู้จักการวางแผนการทำงาน  ฝึกการเป็นผู้นำ  ผู้ตาม  ตลอดจนได้พัฒนากระบวนการคิดที่จะนำมาสู่การสรุปความรู้ใหม่ และประเมินผลจากสถานการณ์จริง โดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียน


วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Instruction)

วิธีสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based  Learning : PBL )

Picture from http://askatechteacher.com/great-kids-websites/problem-solving/



               


 เมื่อดูจากรูปคำศัพท์  Problem – based Learning  คำว่า  Problem  แปลว่า ปัญหา  based  แปลว่า  ฐาน  พื้นฐาน Learning แปลว่า การเรียนรู้ Problem – based Learning  หรือ PBL  ก็คือ วิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่ง  ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ โดยการนำปัญหามาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้     
                การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก  เป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้    เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา   รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษา ไปพร้อมกันด้วย     การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก 
ถ้ามองในแง่ของ ยุทธศาสตร์การสอน    PBL เป็นเทคนิคการสอน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง    จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดหลายรูปแบบ เช่น การคิดวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

ลักษณะทั่วไปของ การเรียนรู้แบบ PBL
                รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบ การใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ  PBL  พอจะ                    กล่าวได้ดังนี้
                1. ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered                        learning)
                2. จัดกลุ่มผู้เรียนให้มีขนาดเล็ก (ประมาณ 3  5  คน)
                3. ครูทำหน้าที่ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)   หรือผู้ให้คำ                                  แนะนำ  (guide)
                4.ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น (สิ่งเร้า)ให้เกิดการเรียนรู้
                5. ลักษณะของปัญหาที่นำมาใช้ ต้องมีลักษณะคลุมเครือ  ไม่ชัดเจน   มีวิธี                       แก้ไขปัญหาได้อย่างหลากหลาย  อาจมีคำตอบได้หลายคำตอบ
                6. ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (self-                           directed learning) 
                7.การประเมินผล  ใช้การประเมินผลจากสถานการณ์จริง(authentic                                 assessment)  ดูจากความสามารถในการปฏิบัติ ของผู้เรียน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Instruction)

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การจัดการเรียนรู้แบบรู้จริง (Mastery Learning)

การจัดการเรียนรู้แบบรู้จริง  (Mastery Learning)
ความเป็นมาของการเรียนเพื่อรอบรู้
                จอห์น คาร์รอล (John B. Carroll)  ผู้มองการเรียนรู้ว่ามีความสัมพันธ์กับเวลาที่ผู้เรียนได้รับในการเรียนรู้ คาร์รอลเชื่อว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ หากผู้เรียนได้รับเวลาที่จะเรียนรู้เรื่องนั้นๆ อย่างเพียงพอตามความต้องการของตน ซึ่งความต้องการนั้นย่อมขึ้นกับลักษณะของผู้เรียนและลักษณะของการสอน ผู้เรียนที่มีความถนัดสูงจะใช้เวลาน้อยกว่าผู้เรียนที่มีความถนัดต่ำกว่า การสอนที่มีคุณภาพสูงจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าการสอนที่มีคุณภาพต่ำ    ซึ่งต่อมา บลูม (Bloom) ได้เพิ่มเติมแนวคิดว่า  (Block & Anderson,1975 : 1-6 อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี, 2547 : 126-127) ในการเรียนรู้เรื่องใดๆ ก็ตาม ผู้เรียนที่มีความสามารถทางสติปัญญาหรือความถนัดแตกต่างกันสามารถที่จะบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ได้เช่นเดียวกันทุกคน หากผู้เรียนได้รับโอกาสในการเรียนรู้และคุณภาพการสอนที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามความต้องการของแต่ละบุคคล ดังนั้น การจัดการเรียนรู้เพื่อรอบรู้นี้ จึงถือได้ว่าใช้หลักการจัดการเรียนการสอนแบบเอกัตภาพ หรือการจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลเช่นกัน
ความหมายของการเรียนเพื่อรอบรู้
                การเรียนเพื่อรอบรู้  ซึ่งสามารถนิยามได้ว่า  การจัดการเรียนเพื่อรอบรู้  หมายถึง  กระบวนการในการดำเนินการให้ผู้เรียนทุกคน ซึ่งมีความสามารถและสติปัญญาแตกต่างกัน สามารถเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ((Block & Anderson,1975 : 25-55 อ้างถึงใน ทิศนา แขมมณี, 2547 : 127) โดยสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้อย่างละเอียดและเป็นไปตามลำดับขั้น และวางแผนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มที่มีความต้องการเหมือนกัน ให้สนองตอบความถนัดที่แตกต่างกันของผู้เรียน จากการแสวงหาวิธีการ สื่อ หรือนวัตกรรมต่างๆ มาช่วยจนผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ครบทุกจุดประสงค์ การเรียนรู้เพื่อรอบรู้นี้ จึงมีผู้ใช้ชื่อต่างๆ กัน ซึ่งอาจเรียกว่า การเรียนแบบรู้แจ้ง การเรียนแบบรู้จริง หรือการเรียนแบบรู้รอบ ซึ่งผู้เขียน เห็นว่าในที่นี้ควรเรียกว่า การเรียนเพื่อรอบรู้” เพราะผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ให้รอบรู้ในเรื่องต่างๆ ได้ อย่างเท่าเทียมกัน หากผู้เรียนได้รับเวลาที่จะเรียนรู้เรื่องนั้นๆอย่างเพียงพอตามความต้องการเพื่อ ความรอบรู้ของตนเอง

รูปแบบการเรียนเพื่อรอบรู้
         จากแนวคิดของ Carroll และ Bloom ที่ได้เสนอรูปแบบการเรียนเพื่อรอบรู้ไว้แล้วนั้น ต่อมา  Hotchkis (1986 อ้างถึงใน จงจิต ตรีรัตนธำรง, 2543) อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยแมคไคว์รี ประเทศออสเตรเลีย ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเรียนเพื่อรอบรู้ พบว่า องค์ประกอบการเรียนรู้ของ Carroll ยังขาดประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ส่วนทฤษฎีการเรียนเพื่อรอบรู้ของ Bloom ซึ่งได้แนวคิดมาจาก Carroll แม้จะเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นแต่ยังขาดปัจจัยที่สำคัญ คือ เครื่องมือที่เหมาะสมกับการสอนเป็นกลุ่ม ในสภาพของห้องเรียนที่มีผู้เรียนจำนวนมาก  Hotchkis จึงได้เสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้โดยได้เสริมปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ประสบการณ์ก่อนเรียน และได้นำแนวคิดของการพัฒนาการเรียนรู้ตามเส้นโค้งของความถี่สะสม ซึ่งมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับหลักการเรียนเพื่อรอบรู้มาพัฒนาขั้นตอนการสอน แบ่งออกเป็น ขั้น คือ
                ขั้นการรับรู้ (Acquisition) ในขั้นนี้ ครูเริ่มเสนอเนื้อหาใหม่ให้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนเริ่มเรียนรู้และจะได้รับปัจจัยสำคัญด้านต่างๆ ได้แก่ เจตคติ ความคิดรวบยอด ความรู้ ความเข้าใจ ผู้เรียนจะเริ่มลองผิดลองถูกกับสิ่งที่เรียนรู้ ความถูกต้องและความแม่นยำในการเรียนรู้จะมีน้อย ในขั้นนี้ ครูผู้สอนควรดำเนินการดังนี้ Mastery
• จัดเรียงเนื้อหาในหลักสูตรตามลำดับความยากง่าย ให้เนื้อหามีความสัมพันธ์กัน
• กำหนดเวลาที่เหมาะสมในการเรียนแต่ละบทเรียน
• เตรียมแบบทดสอบซึ่งประกอบด้วยแบบทดสอบย่อยและแบบทดสอบรวม
• กำหนดแผนการสอน โดยเน้นการสอนให้เกิดความคิดรวบยอดแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ เมื่อทำการสอน ครูควรสังเกตในเรื่องต่อไปนี้
ความเหมาะสมของเวลาที่ให้ผู้เรียนแต่ละคน และแต่ละบทเรียน
ความยากง่ายเหมาะสมกับทักษะพื้นฐานของผู้เรียน
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเรียนรู้ของนักเรียน
                ขั้นเกิดความคล่องตัว (Fluency) ในขั้นนี้ ผู้เรียนจะได้รับการฝึกฝนทักษะ จนเกิดความคล่องแคล่ว
ในเนื้อหา หลังจากผู้เรียนได้เรียนรู้และเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้องแล้ว การปฏิบัติของผู้เรียนจะเพิ่มความถูกต้องมากขึ้น ดังนั้น ผู้สอนต้องเตรียมกิจกรรมการสอนให้มากพอ เพื่อฝึกให้ผู้เรียนเกิดความคล่องแคล่ว แม่นยำ และรวดเร็วในบทเรียน
                ขั้นเกิดความคงทน (Maintenance) ขั้นนี้สืบเนื่องมาจากความคล่องตัวในเนื้อหา อันเนื่องมาจากการฝึกปฏิบัติของผู้เรียนในขั้นที่ ความคงทนของความรู้ที่ได้รับจะอยู่ได้นานและไม่ลืม เนื่องจากมีความแม่นยำในสิ่งที่เรียนจากการปฏิบัติและประสบการณ์ในการลองผิดลองถูกมาหลายครั้งแล้ว วิธีการที่จะพิจารณาว่าผู้เรียนจำได้นานและถาวรในส่วนที่มีความจำเป็นต่อการเรียนในบทเรียนต่อไป คือ การทดสอบอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งมอบหมายงานที่ทำ เพื่อให้รู้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ
                ขั้นนำไปประยุกต์ใช้ (Application) ในขั้นนี้ เมื่อผู้เรียนมีความชำนาญในความรู้ที่เรียนมาการนำไปใช้ในที่นี้ เป็นการเพิ่มประสบการณ์ของผู้เรียน โดยเน้นที่การแก้ปัญหาจากเหตุการณ์สมมติในห้องเรียน ทั้งนี้ เป็นความจำเป็นของครูที่ต้องพิจารณาว่า การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ของผู้เรียน ถ้ามีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมเป็นประจำ ครูอาจนำเหตุการณ์ทั้งหมดมากำหนดเป็นภาพการแก้ปัญหาเพียงเล็กน้อย สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่มีโอกาสเห็น ครูควรจัดสอนหรือให้เป็นข้อแก้ปัญหาให้มากและบ่อยครั้ง เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการแก้ปัญหาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และเป็นการเพิ่มความชำนาญในการแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียนด้วย
                ขั้นปรับใช้ให้ถูกกับสถานการณ์ (Adaptation) ในขั้นนี้ ผู้เรียนจะสามารถนำความรู้มาดัดแปลงหรือปรับใช้ได้ทุกๆ สถานการณ์ที่ผู้เรียนมีโอกาสในการแก้ปัญหาจริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจจัดเป็นเหตุการณ์สมมติ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นแนวทาง โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ ถ้าผู้เรียนไม่สามารถแก้ปัญหาเองได้ถูกต้องในชั้นเรียน ผู้เรียนต้องคิดตัดสินใจและลงมือกระทำด้วยตนเอง หากเกิดข้อผิดพลาด ผู้เรียนจะพยายามทบทวนและหาแนวทางแก้ไขต่อไปด้วยตนเองตัวบ่งชี้ของการเรียนเพื่อรอบรู้   ในการเรียนเพื่อรอบรู้ ตั วบ่งชี้ที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ให้กับผู้เรียน กล่าวคือ ผู้สอนต้องกำหนดวัตถุประสงค์อย่างละเอียดในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ มีการจัดกลุ่มวัตถุประสงค์ที่ต้องบ่งบอกถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องกระทำให้ได้ เพื่อแสดงว่าตนเองได้เกิดการเรียนรู้จริงในสาระนั้นๆ โดยจะต้องจัดเรียงจากสิ่งที่เป็นพื้นฐานไปสู่สิ่งที่สลับซับซ้อนขึ้น มีการวางแผนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละคน แต่ละกลุ่ม ให้สามารถสนองตอบความถนัดที่แตกต่างกันของผู้เรียน ซึ่งอาจเป็นการใช้สื่อการเรียน วิธีการสอน หรือให้เวลาที่แตกต่างกันเพื่อช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถเรียนรู้ได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด มีการชี้แจงให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย วิธีการในการเรียนรู้ ระเบียบ กติกา ข้อตกลงต่างๆ เกี่ยวกับการทำงาน มีการดำเนินการเรียนรู้ตามแผนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดไว้และมีการประเมินการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อ โดยคอยให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หากผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์หนึ่งที่กำหนดไว้แล้ว จึงจะมีการดำเนินการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ข้อถัดไปได้ หากผู้เรียนยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ผู้สอนจะต้องมีการวินิจฉัยปัญหาและความต้องการของผู้เรียน และ จัดโปรแกรมสอนซ่อมเสริมในส่วนที่ยังไม่สัมฤทธิ์ผล แล้วจึงทำการประเมินผลอีกครั้งหนึ่ง หากผู้เรียนสามารถทำได้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น จึงจะสามารถดำเนินการเรียนรู้ในวัตถุประสงค์ต่อไปได้ หากยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ผู้สอนจะต้องมีการแสวงหาวิธีการ สื่อ แบบฝึกหัด หรือนวัตกรรมอื่นๆ มาช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ จนกระทั่งเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์นั้น ผู้เรียนมีการดำเนินการเรียนรู้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับของวัตถุประสงค์ที่กำหนด จนกระทั่งบรรลุครบตามทุกวัตถุประสงค์ที่กำหนด ซึ่งผู้เรียนจะใช้เวลามากน้อยต่างกันตามความถนัดและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน และผู้สอนมีการติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียน และเก็บข้อมูลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และมีการใช้ข้อมูลในการวางแผนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนต่อไป
เกณฑ์การรอบรู้ (Mastery Criterion)
                การจัดการเรียนการสอนโดยอาศัยหลักการเรียนเพื่อรอบรู้นั้น มีขั้นตอนที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การกำหนดเกณฑ์ของสัมฤทธิ์ผลในการเรียนการสอนตามจุดประสงค์การเรียน ซึ่งเรียกว่า เกณฑ์การรอบรู้ นักการศึกษาหลายท่านได้ศึกษาเรื่อง ทฤษฎีการเรียนเพื่อรอบรู้ ต่างให้ความสำคัญของเกณฑ์การรอบรู้ แต่ยังไม่มีใครกล่าวถึงเกณฑ์ที่เหมาะสมไว้อย่างชัดเจน นอกจาก Bloom ซึ่งเป็นผู้ที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียด ได้เสนอแนะเกณฑ์การรอบรู้ไว้ว่า อาจจะเป็น 80-90 % นอกจากนี้ได้มีผู้ศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับการเรียนเพื่อรอบรู้ และได้เสนอแนะเกณฑ์การรอบรู้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการสอนเพื่อรอบรู้ ขั้นตอน คือ
                1. ขั้นการทดสอบ เมื่อผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังจากเรียนจบหน่วยแล้ว คะแนนจากแบบทดสอบจะชี้ให้เห็นว่า นักเรียนเกิดการรอบรู้ในหน่วยการเรียนหรือยัง โดยเทียบกับเกณฑ์การรอบรู้ที่ได้กำหนดไว้
                2. ขั้นการสอนซ่อมเสริมและการแก้ไขสิ่งที่บกพร่อง เมื่อผู้เรียนทำแบบทดสอบแล้วไม่ผ่านหรือไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ผู้เรียนจะต้องได้รับการสอนซ่อมเสริมหรือการแก้ไขสิ่งที่บกพร่อง จนผู้เรียนเกิดการรอบรู้ในเนื้อหาที่เรียนถึงเกณฑ์การรอบรู้ที่ได้กำหนด
                นอกจากนี้ การประเมินผลการเรียนเพื่อนำไปสู่การรอบรู้ มักจะกำหนดเกณฑ์การรอบรู้โดยการประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (criterion-referenced) มากกว่าอิงกลุ่ม (norm-referenced) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนออกเป็นหน่วยๆ นอกจากจะทำให้กระบวนการเรียนในครั้งหนึ่งๆ หรือหน่วยหนึ่งๆ ชัดเจนแล้ว ยังทำให้การประเมินผลชัดเจน หากสามารถจัดแบ่งและลำดับหน่วยการเรียนได้เหมาะสม
บทสรุป
                การเรียนเพื่อรอบรู้ (Mastery Learning) ถือเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ครูทุกท่านสามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยมีความเชื่อว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะเรียนจนรอบรู้ได้ ถ้ามีเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ตามที่ต้องการ เป็นการช่วยให้ทุกคนได้เรียนรู้และช่วยเปลี่ยนอัตมโนทัศน์ของผู้เรียนที่เรียนช้าให้มีความรู้สึกมั่นใจในตนเองเพิ่มขึ้น และมีความพยายามตั้งใจที่จะเรียนรู้ จัดเป็นการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญที่ความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีความแตกต่างกัน  การสอนจะเริ่มที่การทบทวนความรู้พื้นฐานก่อน ด้วยการทดสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียนแต่ละคน ถ้าหากพบข้อบกพร่อง จะต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงทันที    เพื่อช่วยให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันนั้น มีความรู้ใกล้เคียงกัน ก่อนดำเนินกิจกรรมการสอน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เน้นคุณภาพการสอน อันประกอบด้วย การชี้แนะ การให้แรงจูงใจ การให้นักเรียนมีส่วนร่วม และการแก้ไขข้อบกพร่องในการเรียน
                ดังนั้น การเรียนเพื่อรอบรู้ จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าครูผู้สอนได้แก้ไขข้อบกพร่องโดยการซ่อมเสริมอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ผู้เรียนทุกคนได้มีโอกาสประสบความสำเร็จตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และยังลดปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากไม่มีการแข่งขันกันโดยมีความเชื่อว่าผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะเรียนจนรอบรู้ได้ ถ้ามีเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นที่มาของการเรียนเพื่อรอบรู้  (Mastery Learning)




จัดทำโดย
นางสาวอาภาพร   มุระญาติ
587190510 ป.บัณฑิต หมู่ 5 รุ่น 17

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

Infographic : คุณธรรมและจริยธรรมไซเบอร์

Infographic : คุณธรรมและจริยธรรมไซเบอร์ จัดสร้างโดย นักศึกษา ป.บัณฑิต รุ่น 17 หมู่ 5 ปีการศึกษา 2559 ของมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา





















Infographic : นวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา

Infographic : นวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา จัดสร้างโดย นักศึกษา ป.บัณฑิต รุ่น 17 หมู่ 5 ปีการศึกษา 2559 ของมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา