วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
การศึกษาไทยในอนาคต
การศึกษาไทยในยุคปัจจุบัน เป็นการศึกษาในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ การศึกษาช่วยพัฒนาศักยภาพหรือเสริมสร้างพลังที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่จุดแรกเริ่มและตลอดชั่ววัยของชีวิต ซึ่งเป็นการอบรมบ่มนิสัยในมนุษย์สามารถประพฤติตน เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม ดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต และสามารถร่วมสร้างประโยชน์ให้กับสังคมที่ตนอาศัยอยู่ จึงถือได้ว่า การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสติปัญญา คุณธรรม ค่านิยม ความคิด ครูก็เป็นคนสำคัญในการสร้างเยาวชนที่ดี และสร้างอนาคตของชาติด้วย
ดังนั้นจึงมีการจัดการบริหารการศึกษา ที่มีเป้าหมายชัดเจนเพื่อให้ระบบการศึกษาของไทยมีมาตรฐาน มีทิศทางในทางที่ดี มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมต่างๆ รัฐบาลจึงต้องมีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการศึกษาออกมาอย่างชัดเจน เพื่อที่ผู้ปกครองจะต้องนำบุตรหลานของท่านไปเข้าเรียน คือการกำหนดภาคบังคับที่ประเทศไทยกำหนด ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งถึงหกจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม เป็นการศึกษาภาคบังคับ แต่ถ้าเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จะเป็นระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งถึงหก จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่งถึงหก การศึกษาขั้นพื้นฐานมักใช้เวลาประมาณ 12 ปี เป็นส่วนใหญ่ ส่วนในระดับอุดมศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เรียนที่มุ่งศึกษาต่อก็อาจเข้าศึกษาในสถาบันศึกษา อาจจะเป็นการศึกษาปริญญาตรีต่อเนื่อง หรือ การศึกษาในมหาวิทยาลัย
อนาคตภาพของสังคมโลกและสังคมไทย
1.สังคมโลกในอนาคต จะมีระบบเศรษฐกิจฐานความรู้และการค้าแบบไร้พรมแดน มีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสาร เป็นอย่างมาก สังคมโลกจะแคบลงมีการลื่นไหลระหว่างวัฒนธรรมมากขึ้น และการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตย จะได้รับการนิยมและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก
2.สังคมไทยยุคใหม่ จะเป็นสังคมเข้มแข็งและมีคุณภาพ, สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทร, สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, และไทยจะมีบทบาทสูงในประชาคมโลก
2.1 สังคมไทยจะเป็นสังคมเข้มแข็ง และมีคุณภาพ กล่าวคือเป็นสังคมที่ยึดหลักความสมดุล
และพึ่งตนเองได้ และเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีการปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างการบริหาร การเมืองการปกครอง การจัดการศึกษาให้มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น, โดยการเปิดโอกาสให้ทุกส่วนของสังคม มีส่วนร่วมอันจะเป็นระบบที่เอื้อต่อการพัฒนาสังคมไทยที่ยั่งยืน, มีการผสมกลมกลืนระหว่างเทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญาไทยอย่างสมบูรณ์
2.2 สังคมไทยจะเป็นสังคมสมานฉันท์ และเอื้ออาทร กล่าวคือเป็นสังคมที่รักใคร่ สามัคคี มี
ความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
2.3 สังคมไทย จะมีระบบเศรษฐกิจ ฐานความรู้ตามหลักปรัชญาพอเพียง กล่าวคือเป็นสังคม
ที่สร้างสรรค์ความรู้และใช้ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา, มีการบริหารองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และดำเนินการในลักษณะเครือข่าย, ประชากรจะมีสภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นผู้รักการอ่าน มีความรู้กว้างขวาง และมีฉันทะใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
2.4 ประเทศไทย จะมีบทบาทสูงขึ้นในประชาคมโลก, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับ
สังคมโลกอยู่บนพื้นฐานมีศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกัน ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันและร่วมมือกับประคมโลกอย่างไรก็ดีถ้าประเทศไทยยังไม่มีการปรับเปลี่ยนแนวความคิด ไม่มีการปฏิรูประบบโครงสร้างการบริหารการเมือง การปกครอง และระบบการศึกษา เพื่อพัฒนาคนและสังคมไทยให้ยั่งยืนแล้ว อนาคตภายในทางลบของสังคมไทยจะเป็นสังคมที่อ่อนแอแข่งขันไม่ได้ คนไทยมีคุณภาพต่ำ มีความไหลบ่าของวัฒนธรรมต่างชาติ ทำให้คนไทยขาดความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า ไม่ทันเหตุการณ์
คนไทยยุคใหม่
คนไทยยุคปฏิรูปการศึกษา จะเป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม และมีความสุข เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต, สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เป็นคนไทยที่มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง มุ่งทำงาน และชาญชีวิต, เป็นผู้ที่คิดเป็น ทำเป็น คิดสร้างสรรค์และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต, เป็นผู้ที่สามารถสร้างความรู้ใหม่ ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ รักการทำงาน และมีพลวัตในตนเองสูง, และเป็นคนไทยที่มาตรฐานสากล คือ เป็นผู้มีความสามารถทางด้านภาษาสากล เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์, มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมนานาชาติ, มีค่านิยมสากล และสามารถบูรณาการวิถีชีวิตไทยกับสังคมสากลได้อย่างมีความสุข
การศึกษาไทยยุคใหม่
เพื่อให้มีการพัฒนาคนไทยยุคใหม่ เพื่อมีชีวิตที่มีคุณภาพในสังคมไทยยุคใหม่ ภายใต้บริบสังคมโลกใหม่, การศึกษาไทยยุคใหม่มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. การศึกษาไทยยุคใหม่ เป็นการศึกษาที่มุ่งสร้างคน สร้างงาน และสร้างชาติ, เป็นการศึกษาแบบองค์รวมและบูรณาการ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา และการเมือง เพื่อพัฒนาประเทศยั่งยืน
2. การศึกษาไทยยุคใหม่ ต้องมุ่งสั่งสมทุนปัญญาไทยและทุนปัญญาโลก
3. การศึกษาไทยยุคใหม่ ต้องเน้นผลต่อผู้เรียน ทั้งในระดับนโยบายและระดับการเรียนการสอนโดยกำหนดนโยบายการศึกษาที่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ, เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวิถีที่ถนัดและสนใจ เรียนอย่างสนุก เล่นให้ได้ความรู้ และมีความสุขกับการเรียน, ครูสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขกับการทำงาน
4. การศึกษาไทยยุคใหม่ ต้องมุ่งยกระดับงาน ให้เป็นแรงงานคุณภาพ (Knowledge workers) ที่เข้มแข็ง และแข่งขัน
ในมาตรา ๘ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ยึดหลักสามประการในการจัดการศึกษา คือเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, อีกทั้งมาตรา ๙ ได้กำหนดหลักการสำคัญในการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาไว้ ๖ ประการ คือ
(ก) มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(ข) มีการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นการศึกษา สถานศึกษา และองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น
(ค) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ และประเภทการศึกษา
(ง) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(จ) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(ฉ) การมีส่วนร่วมของบุคคลครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น.จะเห็นได้ว่า หลักการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๒ สอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษายุคใหม่ เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นคนไทยยุคใหม่ที่มีคุณภาพ คุณธรรม และคุณค่าแก่สังคมไทย และสังคมโลก มีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ระบบการจัดการศึกษาไทยยุคใหม่
การศึกษาปฐมวัยในอนาคต
ประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้ความสำคัญกับเงินและมนุษย์เป็นอย่างมากโดยเฉพาะมนุษย์ที่สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีประสิทธิภาพเพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าศักยภาพของมนุษย์ในสังคมนั้นจะบอกถึงสถานภาพความมั่นคงของสังคมนั้น ศักยภาพของมนุษย์อยู่ที่การทำงานของสมองประเทศใดให้ความสำคัญในการพัฒนาสมองของคนหรือการคิดของคนในประเทศนั้นจะได้รับการพัฒนา
ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ แรกเกิดถึง 7 ปี หากส่งเสริมภายหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้สามารถพัฒนาไปถึง 70 % ควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้อย่างมีความสุข จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ
สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆเท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลเข้าไปกระตุ้นสมองเด็กทำให้เซลล์ต่างๆเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อต่างๆอย่างมากมายซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น สมองจะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปีจากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การศึกษาปฐมวัยมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนามาจากทฤษฎีและแนวคิดของนักทฤษฎีผู้ที่ศึกษาและเข้าใจในธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กวัยแรกเกิดถึง 8 ปี มานานนับศตวรรษ ต่อมาได้มีความคิดใหม่เกิดขึ้น และมีหลายแนวคิดที่สอดคล้องและมีความเห็นในหลักการพัฒนาเด็กตามที่เคยเชื่อถือและเคยปฏิบัติมาแต่เดิม จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลทางสังคม ความคาดหวังต่างๆ ที่ทำให้นักการศึกษาหลายกลุ่มได้พยายามแสวงหาแนวคิดและสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยอาศัยหลักความเชื่อ หลักทฤษฎีที่ว่าด้วยพัฒนาการเด็กและการเรียนรู้เป็นฐาน นักการศึกษาหลายกลุ่มได้นำรูปแบบการสอนตามความเชื่อและเหตุผลเชิงทฤษฎีไปปฏิบัติติดตามผล มีรายงานการวิจัยเผยแพร่ในวงการศึกษาปฐมวัยซึ่งกระตุ้นให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนตื่นตัวในการจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาด้านต่างๆมากขึ้น การจัดการศึกษาปฐมวัยมีองค์ประกอบสำคัญ คือ เด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม ครูปฐมวัย การจัดหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การบริหารจัดการ
การศึกษาปฐมวัยในอนาคตเกี่ยวข้องกับศึกษาอดีต ปัจจุบันและมองภาพข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไรที่จะทำให้การจัดการศึกษาปฐมวัยมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในทุกด้าน ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในแต่ละด้านดังนี้
เด็กปฐมวัย เด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษต้องได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมตั้งแต่ใน
ครรภ์มารดา จนถึงอายุ 6 ปี เด็กได้รับการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านคือ พัฒนาการทางสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สังคม คุณธรรมจริยธรรม เรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญา เน้นสิทธิเด็กเพื่อให้เด็กได้รับการดูแลช่วยเหลือ ได้รับการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยทั้งกายและจิตใจ ส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ พ่อแม่และครอบครัวมีส่วนร่วมดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากสถานรับเลี้ยงเด็ก โดยผู้ทำหน้าที่ดูแลเด็กจะต้องมีความรู้ทางการศึกษาปฐมวัย ส่วนเด็กอายุ 3 – 5 ปีที่ได้รับการพัฒนาจากสถานศึกษา/ศูนย์พัฒนาเด็กกำหนดให้ผู้ทำหน้าที่ดูแลและให้การศึกษาแก่เด็กต้องมี
ความเป็นมืออาชีพและมีความรู้ทางการศึกษาปฐมวัย เด็กดำเนินชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ ได้รับบริการที่มีคุณภาพด้านสุขภาพทางกายและจิตใจอย่างสม่ำเสมอ ได้รับการแก้ปัญหาข้อบกพร่องอย่างถูกต้องและทันต่อสถานการณ์
ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม(ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) ได้รับความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการอบรมดูแล จัดประสบการณ์และจัดสภาพแวดล้อมในเด็กอย่างเหมาะสมกับระดับพัฒนาการ โดยสามารถเข้าถึงความรู้จากสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร โปสเตอร์ แผ่นพับ รายการวิทยุโทรทัศน์ Website โรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการจัดกิจกรรมการให้การศึกษาแก่พ่อ แม่และผู้ปกครองในรูปแบบ การประชุมกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก กิจกรรมสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน แผ่นพับและจัดกิจกรรมแนะแนวความรู้ทางการศึกษาปฐมวัยแก่ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม ส่งเสริมให้ผู้ปกครองร่วมประเมินผลพัฒนาการเด็ก ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สถานพัฒนาเด็กและโรงเรียนระดับปฐมวัยมีชมรมหรือสมาคมผู้ปกครองร่วมมือกับโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก นอกจากนี้สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการปกป้องคุ้มครองสิทธิ เฝ้าระวังและร่วมพัฒนาเด็กโดยวิธีเผยแพร่ความรู้และทักษะในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก กระตุ้นในสังคมเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็ก
ผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาร่างกาย อารมณ์ สังคม คุณธรรมจริยธรรม เรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญา เน้นสิทธิเด็กทำให้เด็กได้รับการดูแลช่วยเหลือ ได้รับการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยทั้งกายและจิตใจส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ พ่อแม่และครอบครัวมีส่วนร่วมดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด มีบทบาทในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กโดยการให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการทำกิจกรรม 1 กิจกรรมพยายามให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่างร่วมกัน ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่
พัฒนา ต้องฝึกให้เด็กใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข ไม่ให้เครียด ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เด็กพูดด้วยความตั้งใจ และพยายามเข้าใจเด็ก
ครูปฐมวัยจำนวนร้อยละ 100 มีความรู้ทางการศึกษาปฐมวัยหรือสำเร็จการศึกษาทางการศึกษาปฐมวัย และได้รับการอบรม/สัมมนาปีละไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ผู้ทำงานในสถานศึกษาต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู มีคุณสมบัติความเป็นนักวิจัย/ครูนักวิจัย มีชมรม/สมาคมสำหรับครูปฐมวัย มีศูนย์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัยให้บริการวิชาการได้ตลอดเวลา ปรับเปลี่ยนบทบาทของตนได้ทันทีโดยรวดเร็วจากครูแบบเดิมกับแนวทางใหม่ผู้สอนต้องเข้าใจว่าแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัยเกิดจากการบูรณาการทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเข้า
ด้วยกัน ครูมีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาปฐมวัยที่สามารถสร้างพลังการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียน กลุ่มแนวคิดที่นำเสนอในที่นี้มีความเห็นที่ชัดเจนและชี้ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ 4 ประการคือ หลักการเรียนรู้ บทบาทของครู บทบาทเด็กและการจัดสภาพการเรียนรู้
การเรียนรู้ในแนวใหม่ต่างจากการสอนแบบเดิมที่เน้นการเรียนเนื้อหาวิชาที่ครูสอนหรือถ่ายทอดให้
เด็กปฐมวัยโดยตรง แนวทางใหม่เน้นให้เด็กที่ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการ พัฒนากระบวนการคิดและทักษะการคิด การใช้ภาษา การแสดงออกทางสร้างสรรค์ การปรับตัวได้ดี มีความเชื่อมั่นและมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองสูง พัฒนาทักษะทางสังคมและเด็กอายุ 4 ปีขึ้นไปได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมความร่วมมือ แนวคิดใหม่ปรับเปลี่ยนมโนคติ ทัศนคติและแนวปฏิบัติในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนการสอน ได้นำแนวคิดและทฤษฎีต่างๆมาสนับสนุนและชี้นำแนวการสอนที่จะส่งผลดีต่อการพัฒนาเด็กตามที่เราต้องการ
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีลักษณะเฉพาะตัวและจำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย การส่งเสริมศักยภาพของเด็กโดยเน้นการสร้างองค์ความรู้ และการรับความรู้ให้ผลต่างกัน ผลจากการให้เด็กเรียนรู้จากการสร้างองค์ความรู้เป็นการสร้างพลังการเรียนรู้ที่แท้จริงอันจะนำไปสู่การศึกษาที่ช่วยให้เด็กเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข พัฒนาการจัดการเรียนรู้บนพื้นฐานการวิจัย จัดการศึกษาให้เด็กได้รับการพัฒนารอบด้านอย่างสมดุล เต็มตามศักยภาพสนับสนุนการบูรณาการทฤษฎีต่างๆตลอดจนการนำผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องไปใช้จริงการที่เราพูดกันเสมอมาว่า ครูควรใช้แนวคิดในการจัดการ เรียนรู้โดยเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง
จัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เช่น ทฤษฎีการพัฒนาทางจิตและสังคม (Psychosocial Stages) ของ Erikson ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Cognitive Theory) ของ Piaget ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงสังคม (Social Cognitive Theory) ของ Bandura ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanistic Theories) ที่ว่าด้วยความต้องการจำเป็นของมนุษย์(Theory of Human Motivation) ของ Maslow และการพัฒนาเหตุผลเชิงคุณธรรม (Stages of Moral Reasoning) ของ Kohlberg เป็นต้น กำหนดกรอบของหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับวัยของเด็กสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาปฐมวัยของประเทศ การจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้คำนึงถึงความสนใจของเด็กและตอบสนองความต้องการของเด็ก ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กรายบุคคล และรายกลุ่ม (Developmentally Appropriate Curriculum) ใช้วิธีประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง (authentic assessment) และใช้ระบบสะท้อนข้อมูลการสอนจากการสังเกตบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กเพื่อการวางแผนการสอนในครั้ง นำนวัตกรรมใหม่ๆหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ด้านการจัดการเรียนรู้มาพัฒนาเด็กอย่างเหมาะสม
จัดการเรียนรู้หรือจัดสิ่งกระตุ้นให้มากพอที่สมองจะทำงานเป็นกระบวนการ กิจกรรมที่เด็กปฐมวัยได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองคือ กิจกรรมที่จะต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยการให้เด็กได้ฝึกฝนการใช้มือ หยิบ จับ สัมผัส ซึ่งปลายนิ้วมือจะรับรู้การสัมผัสส่งผลให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อและสร้างไขมันล้อมรอบเส้นใยสมอง เด็กคนใดมีทักษะในการใช้สายตาประสานกับการทำงานของมือให้เกิดความคล่องแคล่ว แสดงว่าเซลล์สมองทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้มาก สมองของเด็กจึงจะพัฒนา
จัดให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ กิจกรรมศิลปะ ประกอบด้วย การปั้นดินน้ำมัน/ดินเหนียว/แป้งโดว์ การวาดภาพระบายสี อาจเป็นสีน้ำหรือสีเทียนสลับกับไป การตัด ฉีก ปะ งานประดิษฐ์ต่างๆ เป็นต้น การเล่นเครื่องเล่นสัมผัสต่างๆ ประกอบด้วย พลาสติกต่อลักษณะต่างๆ การร้อยลูกปัด การร้อยดอกไม้ การผูกเชือก การติกกระดุม การแป้นหมุด การต่อภาพ เป็นต้น กิจกรรมการทดลอง ประกอบด้วย การทดลองการจมการลอย การเล่นน้ำ การเล่นทราย การปรุงอาหารง่ายๆ การต่อสร้างด้วยบล็อกขนาดต่างๆ เป็นต้น กิจกรรมการไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู่ในชุมชน จัดหาและดัดแปลงสื่อโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น
ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยทฤษฎีพหุปัญญาซึ่งเด็กแต่ละคนมีฐานการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ทำให้มีความสามารถในทางสมองแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็สามารถพัฒนาศักยภาพสูงสุดของตนได้ เด็กวัยนี้ควรเรียนรู้ในด้านต่างๆดังนี้
1. การเคลื่อนไหวของร่างกาย ฝึกการยืน เดิน วิ่ง จับ ขว้าง กระโดด การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆที่เราต้องการ หรือพวกนักกีฬาต่างๆ
2. ภาษาและการสื่อสาร เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริง จากการพูด การฟัง การอ่านและการเขียน เช่น ให้เด็กเล่าสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้ลงมือกระทำ ฟังเรื่องราวต่างๆที่เด็กต้องการเล่าให้ฟังด้วยความตั้งใจ เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน เล่าจบตั้งคำถามหรือสนทนากับลูกเกี่ยวกับเรื่องราวในนิทาน อ่านคำจากป้ายประกาศต่างๆที่พบเห็น ให้เด็กได้วาดภาพสิ่งที่เขาได้พบเห็นหรือเขียนคำต่างๆที่เขาได้พบเห็น
3. การรู้จักการหาเหตุผล ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต การเปรียบเทียบ จำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ จัดหมวดหมู่สิ่งของที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เรียนรู้ขนาด ปริมาณ การเพิ่มขึ้นลดลง การใช้ตัวเลข
4. มิติสัมพันธ์และจินตนาการจากการมองเห็น ให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆที่เป็นของจริง เรียนรู้สิ่งต่างๆจากประสบการณ์ตรง เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะ ขนาดตำแหน่งและการมองเห็น สังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างรอบตัว เข้าใจสิ่งที่มองเห็นได้สัมผัส สามารถนำสิ่งที่เข้าใจออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
5. ดนตรีและจังหวะ ให้เด็กได้ฟังดนตรี แยกแยะเสียงต่างๆ ร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี ฝึกให้เด็กรู้จักจังหวะดนตรี
6. การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ฝึกให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อแบ่งปัน เข้าใจผู้อื่น เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น ปฏิสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และสติปัญญา
7. การรู้จักตนเอง รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจตนเอง จะทำให้ดูแลกำกับพฤติกรรมตนเองได้อย่างเหมาะสม
8. การปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกับธรรมชาตินอกจากกิจกรรมที่กล่าวมาแล้ว จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมองโดยพยายามให้เด็กนำความรู้เดิมไปผสมผสานกับประสบการณ์ใหม่ ให้เด็กได้ใช้สมองผสมผสานกันทั้งซีกซ้ายและซีกขวาโดยการปฏิบัติผ่านการเล่น ให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข
การบริหารจัดการทางการศึกษาปฐมวัย โรงเรียน/ศูนย์จะต้องพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา หรือเป็นการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ วิธีการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยอย่างก้าวกระโดดคือการเทียบเคียงสมรรถนะเป็นรูปแบบหนึ่งที่มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศจากโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัยอื่นๆภายใต้กฎกติกาสากล โดยมีแนวคิดที่ว่า โรงเรียนนั้นไม่ได้เก่งทุกเรื่อง ยังมีโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัยเก่งมากกว่าโรงเรียนของเราในบางเรื่องการศึกษาจากประสบการณ์ตรงของโรงเรียนอื่นๆแล้วนำมาประยุกต์ให้เหมาะสม จะช่วประหยัดเวลาและลดการลองผิดลองถูก การเรียนรู้จากแชมป์จึงเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด
การศึกษาปฐมวัยในอนาคตให้ความสำคัญในการพัฒนาสมองเพราะวัยนี้สมองมนุษย์จะพัฒนาไปถึง 70 % ต้องจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็กโดยจัดกิจกรรมการเรียนจากประสบการณ์ตรง เด็กได้ลงมือกระทำและมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อม ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น เรียนรู้อย่างมีความสุข จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม เด็กจึงจะพัฒนาเต็มตามศักยภาพ การจัดการศึกษาปฐมวัยแสดงประสิทธิผลและประสิทธิภาพอย่างชัดเจนในด้าน การพัฒนาเด็ก การมีส่วนร่วมและการสร้างความรู้เข้าใจทางการศึกษาปฐมวัยแก่ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม การปรับเปลี่ยนบทบาทครูปฐมวัยและการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องและมีคุณสมบัติความเป็นครูนักวิจัย การจัดหลักสูตรให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษาปฐมวัยของประเทศ การจัดการเรียนรู้แนวทางใหม่อยู่บนฐานแนวคิดและทฤษฎีเน้นให้เด็กที่ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำ พัฒนากระบวนการคิดและทักษะการคิด การใช้ภาษา การแสดงออกทางสร้างสรรค์ การปรับตัวได้ดี มีความเชื่อมั่นและมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองสูง พัฒนาทักษะทางสังคม ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีพหุปัญญา พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา หรือเป็นการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้วยวิธีการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยอย่างก้าวกระโดดคือการเทียบเคียงสมรรถนะ เป็นรูปแบบหนึ่งที่มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
การศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต
อุดมการณ์ของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนโดยรัฐต้องจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาเยาวชนไทยทุกคนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะที่เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองของโลก เพื่อเป็นรากฐานที่พอเพียงสำหรับการใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต รวมทั้งเพื่อการพัฒนาหน้าที่การงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่วนตนและครอบครัว และเพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนในอนาคต
หลักการสำคัญของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยึดหลักที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ ดังนี้
1. หลักการพัฒนาผู้เรียนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม เป็นผู้ที่มีจริยธรรมในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ใฝ่รู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ที่พอเพียงต่อการพัฒนางานอาชีพและคุณภาพชีวิตส่วนตน สามารถเผชิญความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเท่าทันและชาญฉลาด และมีความเป็นประชาธิปไตย
2. หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทย ให้มีความรัก และภาคภูมิใจในท้องถิ่นและประเทศชาติ มีความรู้และทักษะพื้นฐานสำหรับการประกอบอาชีพสุจริต มีความมุ่งมั่น ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน มีลักษณะนิสัยและทัศนคติที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีทั้งของครอบครัว ชุมชน สังคมไทย และสังคมโลก
3. หลักแห่งความเสมอภาค คนไทยทั้งปวงต้องมีสิทธิ์เสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงเท่าเทียม ควบคู่ไปกับความมีคุณภาพ โดยไม่แบ่งชนชั้นหรือความแตกต่างทางสังคมวัฒนธรรม
4. หลักการมีส่วนร่วม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการศึกษา ร่วมกับคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างเอกลักษณ์ศักดิ์ศรีและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นตามนัยของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ
5. หลักแห่งความสอดคล้อง อุดมการณ์และมาตรฐานในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องสอดคล้องกับสาระบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 นโยบายการศึกษาของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ และสัมพันธ์เชื่อมโยงกับมาตรฐานการอาชีวศึกษา และมาตรฐานการอุดมศึกษา
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน
1. ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ
2. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
3. ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
4. ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุผล
5. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
6. ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา
7. ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
8. ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
9. คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ชุมชนปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
10. สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน
11. สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ
12. สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
13. สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
14. การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นที่กำหนดขึ้น
มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม
15. การจัดกิจกรรมตามนโยบาย จุดเน้น แนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพสูงขึ้น
แหล่งที่มา..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/479616
ปัญหาการศึกษาไทย
ปัญหาการศึกษาไทย
|
ทัศนะConstructionism | รู้จักกับ Constructionism | แนวคิดพื้นฐานและหลักการ | เครื่องมือ
|
บทนำ ด้วยความกรุณาจากมูลนิธิศึกษาพัฒน์ ที่ให้โอกาสกับผมเข้าร่วมในการอบรมทฤษฎีConstructionism ที่มูลนิธิจัดขึ้น จุดเริ่มต้นนี้เองทำให้ผมได้รู้จักกับทฤษฎี Constructionism โดยตลอดระยะเวลาที่ได้เข้าร่วมอบรม ผมได้เรียนรู้และทำความเข้าใจทฤษฎีนี้จากการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเองและรับฟังจากผู้รู้หลายท่าน(บุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่ให้ความรู้กับผมคือ อ.บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ ซึ่งท่านได้กรุณาอธิบายให้พวกเราผู้เข้าร่วมอบรมฟัง จนหลายๆคนเริ่มเข้าใจและปฏิบัติตามแนวทางของ Constructionis ได้) ซึ่งเมื่อได้สัมผัสมากๆเข้าก็เริ่มมองเห็นประโยชน์นานับประการ โดยมองว่าทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่พัฒนาคนในทุกๆด้านไม่เฉพาะสติปัญญาเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมให้รู้จักตนเองและสังคมเพื่อจะได้ปรับตนเองให้เข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข ฝึกให้คิดเป็น , ทำเป็น , แก้ปัญหาเป็น ทฤษฎีนี้เหมาะกับคนไทยเพราะมีความยืดหยุ่นสูง ,ไม่ตีกรอบมากเกินไป , เป็นทฤษฎีที่ตอบสนองความต้องการรายบุคคลของผู้เรียนได้ดี ทฤษฎี Constructionismนั้น ถ้าจะศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งควรจะลงมือปฎิบัติโดยเข้าไปสัมผัสด้วยตนเอง(คล้ายกับการปฎิบัติธรรมะ) ซึ่งผมเองสังเกตว่าผู้เข้าร่วมอบรมส่วนใหญ่(ในช่วงแรกๆ)จะต้องใช้เวลาในการปรับความคิดพอสมควร และเมื่อปฎิบัติจนเริ่มมองเห็นประโยชน์ของทฤษฎี Constructionism แล้ว หลายๆท่านอยากจะนำทฤษฎีนี้ไปใช้กับการเรียนการสอนของตนเองแต่ยังไม่รู้ว่าจะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร ด้วยเหตุนี้ผมจึงเขียนเอกสารนี้ออกมาโดยแยกแยะทฤษฎี Constructionism ออกเป็นหัวข้อย่อยๆ เพื่อเป็นแนวทางที่ง่ายขึ้นสำหรับการทำความเข้าใจ การนำเสนอเนื้อหาจะแบ่งเป็นสองช่วง ในช่วงแรกจะเป็นการเสนอปัญหาการเรียนการสอนที่เราพบบ่อยๆ และปัญหานั้นนำไปสู่ปัญหาผลผลิตทางการศึกษาของเราที่ขาดคุณภาพ ส่วนในช่วงที่สองจะเป็นการเสนอทฤษฎี Constructionism เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้ในเรียนการสอน อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีในผู้ที่ศึกษาทฤษฎีนี้ว่าการเรียนรู้ของเราแต่ละคนมีความแตกต่างกัน และเนื่องจากเอกสารนี้เขียนจากประสบการณ์การเรียนรู้ของตัวผู้เขียนเอง ดังนั้นผู้เขียนจึงไม่ได้หวังให้เอกสารนี้เป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้อ่านทุกท่าน แต่เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นซึ่งมาจากการทัศนะ(ได้เห็น)ของผู้เขียนเองเท่านั้น |
ตอนที่ 1 ปัญหาการเรียนการสอนของไทย |
เมื่อปลายเดือนพฤษจิกายน(2541) ผมได้ดูรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งเป็นการแสดงของเด็กที่มีชื่อกลุ่มว่าสมัชชาเด็ก เด็กเหล่านี้ได้แสดงละคร แสดงหุ่นกระบอก หนังตะลุง และแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อถ่ายทอดความคิดเห็นและความรู้สึกของพวกเขาเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนที่พวกเขาได้พบ เมื่อดูแล้วมีความรู้สึกว่าเด็กๆสะท้อนภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอนได้อย่างดี ปัญหาการเรียนการสอนที่ทำให้เด็กไม่มีความสุขในการเรียนถูกถ่ายทอดออกมาหลายเรื่อง เช่น สภาพการเรียนการสอนที่น่าเบื่อหน่าย คุณครูใจร้ายที่ไม่เข้าใจเด็กเฆี่ยนตีและดุเด็ก คุณครูที่ไม่ค่อยมาสอน คุณครูที่สั่งการบ้านมากเกินไปจนเด็กต้องทำงานดึก หรือคุณครูขี้เมาที่มีกลิ่นสุราติดตัวเข้ามาสอน ในทางกลับกันเด็กๆอยากให้คุณครูรักและเข้าใจพวกเขามากขึ้นไม่ดุพวกเขาและไม่ทำโทษพวกเขา(Jจากสาเหตุที่เขายังเด็กเขายังไม่รู้) อยากให้คุณครูใจดีกับพวกเขา มีเทคนิคการสอนที่สนุกและอยากมีสภาพห้องเรียนที่พวกเขาเรียกว่าห้องเรียนในฝันเป็นห้องเรียนที่มีแต่ความสุขJในการเรียนรู้ การเสนอปัญหาต่างๆเหล่านี้จากมุมมองของเด็ก ทำให้คนที่ดูหลายๆคนมีความเห็นพ้องกับเด็กๆเนื่องจากสมัยที่ตนเองเรียนก็เคยสัมผัสกับบรรยากาศเหล่านี้มาแล้ว จากสิ่งที่เด็กๆเสนอมาครูอาจารย์บางท่านอาจมีความรู้สึกคาดไม่ถึงว่าเด็กๆจะสังเกตการสอนของครูโดยมองเห็นปัญหาและสะท้อนปัญหาเหล่านี้ออกมาได้ สิ่งที่เด็กๆเสนอออกมาทำให้ครูหลายๆคนเข้าใจความรู้สึกของเด็กๆมากขึ้น มีความรู้สึกว่าในการเรียนการสอนที่ผ่านมาคุณครูมักจะละเลยความรู้สึกของเด็กๆเหล่านี้ และจากการได้เห็นสิ่งที่เด็กๆเสนอออกมาทำให้ครูบางท่านเริ่มปรับเปลี่ยนการสอนรวมทั้งหาวิธีการสอนที่เหมาะสมมาใช้กับวิชาที่ตนเองสอน เพื่อพยายามให้เกิดห้องเรียนในฝันอย่างที่เด็กๆต้องการ พวกเราหลายคนอาจจะเคยสัมผัสกับปัญหาที่เด็กๆนำเสนอมาบ้าง ทั้งในบทบาทของครูเอง หรือบทบาทซึ่งครั้งหนึ่งตนเองก็เคยเป็นนักเรียน สิ่งที่พบบ่อยในสมัยที่เราเป็นผู้เรียน คือ ความเบื่อหน่ายต่อการเรียน , ง่วงและหลับในห้องเรียน , ลองนึกดูว่าในสมัยที่เราเป็นนักเรียนก็คงมีบางวิชาที่เราไม่ชอบและเปรียบวิชานั้นเสมือน "ยาขม" สำหรับเรา เมื่อเราไม่ชอบเราก็ไม่อยากเข้าเรียน ถ้าเข้าไปเรียนก็รู้สึกเบื่อเพราะเรียนไม่รู้เรื่อง , ไม่มีความสุขกับการเรียนวิชานั้น หรือถ้าเลือกได้เราก็คงไม่เรียนวิชาที่เปรียบเสมือน"ยาขมL" สำหรับเรา แต่ในทางกลับกันมีบางวิชาที่เรารู้สึกว่าเราชอบ "J"เราอยากเรียน เรามีความสุขกับการเรียนวิชานั้นมาก เมื่อถึงวันที่มีวิชานี้เราจะรู้สึกดีใจ (Jแต่ถ้าวันไหนมีวิชาที่เราชอบอยู่ร่วมกับวิชาที่เป็นยาขมเราก็จะดีใจเพียงครึ่งเดียว) จากประสบการณ์ตอนเป็นผู้เรียน เราเคยสังเกตหรือไม่ว่าทำไมเราชอบวิชานี้หรือไม่ชอบวิชานี้ รวมทั้งบางวิชาที่เราชอบแต่เพื่อนๆกลับไม่ชอบ หรือบางวิชาที่เราไม่ชอบเพื่อนๆกลับชอบเรียน เป็นเพราะอะไร? คำตอบหนึ่งที่สามารถอธิบายได้ คือ คนเราแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ในด้านต่างๆเช่น ความสนใจ ความสามารถ ความพร้อมและความต้องการ และสิ่งที่สำคัญคือคนเราแต่ละคนเรียนรู้ไม่เหมือนกันบางคนเรียนรู้ได้รวดเร็วในเรื่องหนึ่งแต่เรียนรู้ได้ช้าในอีกเรื่องหนึ่ง นอกจากนั้นในเรื่องของความสนใจและความต้องการของผู้เรียนนั้นมีความสำคัญมากกับการเรียนรู้ของแต่ละคน โดยอาจจะมองย้อนกลับไปในอดีตของเรา เราเองจะพบว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่เราเรียนรู้ได้เองโดยไม่ต้องมีคนสอนหรือต้องมานั่งเรียนในห้องเรียน นั่นคือเราเรียนรู้ได้เองจากความสนใจส่วนตัวหรือเรียนรู้ได้จากความต้องการของเราเพราะเรารักและสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งนั้นโดยไม่ต้องมีใครมาบอกหรือมาสั่งให้เรียน ถึงแม้ว่าบางครั้งจะมีปัญหาเกิดขึ้นเราก็จะแสวงหาวิธีการแก้ปัญหานั้นด้วยตัวเราเองจากแหล่งความรู้ต่างๆ จะเห็นว่าถ้าครูจัดบรรยากาศการเรียนการสอนที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและทำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญและเกิดความสนใจในเนื้อหาที่สอนจะทำให้ผู้เรียนมีความชอบ(J) และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง , แสวงหาความรู้ด้วยตนเองนอกเหนือจากการสอนในห้องเรียน ในความเป็นจริงบรรยากาศการเรียนการสอนที่เราเคยสัมผัสหรือเคยเรียนนั้นไม่ได้จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ หลักความแตกต่างระหว่างบุคคลมากนัก อาจจะเป็นเพราะว่ามีจำนวนนักเรียนมากขึ้น (หนึ่งห้องมีนักเรียนประมาณ 30 - 50 คน แถมในบางวิชามีการรวมห้อง จำนวนนักศึกษาก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 70 - 100 คน)โอกาสที่ครูเองจะเข้าไปสัมผัสกับผู้เรียนเพื่อตอบสนองความต้องการรายบุคคลมีน้อยลง อีกทั้งการเรียนการสอนโดยมีครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เป็นวิธีที่ง่ายต่อการสอนจึงเป็นเทคนิคที่นิยมนำมาใช้สอน ถ้าเรามองการสอนที่เราเคยพบสมัยที่เราเป็นผู้เรียน เทคนิคการสอนที่เราพบมากที่สุดคือการสอนแบบบรรยายโดยมีครูเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ ครูจะยืนอยู่หน้าชั้นเรียนสอนเนื้อหาสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกันต่อนักเรียนจำนวนมาก และครูส่วนใหญ่ก็จะตั้งความหวังไว้ว่านักเรียนทุกคนจะต้องเรียนได้เท่าๆกัน ซึ่งขัดกับหลักจิตวิทยาว่าด้วยความแตกต่างระหว่างบุคคล ที่คนแต่ละคนมีความสนใจ ความสามารถ ความถนัด และมีวิธีเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนจะรับความรู้ที่ถ่ายทอดได้ไม่เท่ากัน การสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลางเพียงอย่างเดียวจะไม่ตอบสนองความแตกต่างรายบุคคลได้ครบทั้งหมด จึงทำให้ผู้เรียนบางส่วนเกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยากเรียน และเกิดพฤติกรรมต่างๆที่ครูคิดว่าเป็นปัญหา สภาพการศึกษาของไทยและปัญหาผลิตผลทางการศึกษา ถ้าเรามองการเรียนการสอนจากอดีตก่อนที่จะมีระบบโรงเรียน สมัยก่อนนั้นพ่อแม่จะเป็น "ครู" ผู้สั่งสอนลูก โดยมุ่งสอนให้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง พ่อแม่มีอาชีพอย่างไรก็มักสั่งสอนอาชีพนั้นแก่ลูกของตนเอง เช่น พ่อแม่มีอาชีพเกษตรกรก็สอนอาชีพนั้นแก่ลูกๆ เพื่อที่ลูกๆจะได้มีทักษะอาชีพติดตัวไปทำมาหากินในอนาคต ในการสอนอาชีพก็คอยแนะนำทักษะต่างๆให้กับลูกโดยใกล้ชิด ส่วนลูกก็ได้ลงมือปฏิบัติงานจริง ภายใต้สภาพแวดล้อมจริงที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และเมื่อมีปัญหาก็จะให้คำแนะนำกับลูกเป็นรายบุคคล หรือนำลูกไปฝากไว้ที่วัดหรือสำนักต่างๆ ซึ่งนอกจากจะได้เรียนสรรพวิชาต่างๆแล้วก็ยังมีการปลูกฝังคุณธรรมไปในตัวด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเริ่มมีระบบโรงเรียน โดยทรงจัดตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเพื่อเตรียมคนเป็นข้าราชการ ตั้งแต่นั้นมาชาวไทยก็ถือว่าการศึกษาเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะยกฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของตนเองหรือบุตรธิดาให้สูงขึ้น ชาวไทยมีทัศนคติที่ดีต่อการศึกษามาก พ่อแม่พยายามที่จะส่งลูกๆให้เข้าในระบบโรงเรียนและส่งเสียให้ได้เรียนสูงๆ เมื่อเริ่มมีระบบโรงเรียนนักการศึกษาในสมัยนั้นก็รับแนวคิดการจัดหลักสูตรตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลต่อการศึกษาของไทย การสอนได้เปลี่ยนจากการสอนแบบเดิมที่มุ่งสอนให้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง จากเดิมมีครูสอนลูกศิษย์เพียง 2 - 3 คน เปลี่ยนมาเป็นการสอนที่มีครูยืนอยู่หน้าชั้นเรียนให้นักเรียน 30 - 50 คนนั่งฟังภายในห้องเรียนสี่เหลี่ยมและคอยจดตามคำสอน กลายเป็นภาพที่ติดแน่นมาจนถึงปัจจุบันอย่างยากที่จะลบเลือน จากการที่บรรยากาศการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้มานานนับร้อยปี ส่งผลให้เกิดปัญหาทางการเรียนการสอนขึ้น กล่าวคือ ผลผลิตทางการศึกษาของเราขาดคุณลักษณะที่สำคัญ 6 ประการ คือ 1) กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็นต่อชุมชน 2) สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง 3) รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง 5) มีความคิดในการพัฒนาและความคิดสร้างสรรค์ 6) มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ปัญหาต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? และเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนอย่างไร ? ขออธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้ ในบรรยากาศการเรียนการสอนที่เน้นให้ครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ด้วยความเชื่อที่มีมาแต่โบราณว่าครูจะต้องมีความรู้ดีกว่านักเรียน การเรียนการสอนส่วนใหญ่จึงเป็นลักษณะครูถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน ส่วนผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้จากครู ในขณะที่ครูส่วนใหญ่มีความคิดที่ว่าจะต้องถ่ายทอดเนื้อหาให้กับผู้เรียนให้มากที่สุดเพราะเนื้อหาที่สอนนั้นมีประโยชน์กับตัวผู้เรียน ดังนั้นบรรยากาศการเรียนการสอนที่เราพบส่วนใหญ่ ครูจึงเป็นผู้มีบทบาทอยู่ตลอดเวลา(เป็นพระเอกหรือนางเอก) นักเรียนไม่มีโอกาสได้พูดและแสดงความคิดเห็นเท่าใดนัก(เป็นตัวประกอบ) ผลจึงปรากฏว่า เมื่อนักเรียนเติบใหญ่ขึ้น จึงไม่กล้าแสดงความคิดเห็นต่อชุมชน บางคนกล้าแต่ไม่รู้จักแสดงความคิดเห็น ซึ่งการแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องมีการฝึกฝน และควรจะมีการปลูกฝังตั้งแต่เยาว์วัย ไม่ใช่เติบใหญ่ขึ้นมาแล้วจะกล้าแสดงความคิดเห็นโดยอัตโนมัติ นอกจากนั้นการเรียนการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางที่ถ่ายทอดเนื้อหาให้นักเรียนแต่เพียงฝ่ายเดียว ยังทำให้นักเรียนขาดโอกาสในการตัดสินใจด้วยตนเอง เพราะผู้เรียนมีโอกาสได้ปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องตัดสินใจด้วยตัวเองน้อยมาก เรื่องนี้ครูหลายท่านอาจจะมีประสบการณ์คล้ายๆกัน คือ พบว่านักศึกษาที่เรียนถึงระดับอุดมศึกษา แต่ตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยตนเองไม่ได้ บรรยากาศการเรียนการสอนในห้องเรียนที่ครูต้องสอนเนื้อหาให้ทันตามหลักสูตรซึ่งเต็มไปด้วยเนื้อหามากมาย เนื้อหาบางส่วนเปรียบเสมือน"ขยะ" คือ เนื้อหาที่ไม่มีความจำเป็นต่อหรือสัมพันธ์ต่อชีวิตของนักเรียน แต่ด้วยหน้าที่ ทำให้ครูหลายๆท่านต้องพยายามสอนเนื้อหาให้ทัน เปรียบเสมือนการ"กรอก"ความรู้ให้กับนักเรียนโดยไม่ตั้งใจ จากปัญหานี้ ทำให้ครูต้องรีบเร่งจนไม่มีเวลาที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม(กิจกรรมในห้องเรียน) เมื่อไม่มีการทำงานเป็นกลุ่มทำให้ขาดโอกาสในการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น และยังขาดความเคารพตนเองและคนอื่น ผลจึงปรากฏว่า คนไทยส่วนใหญ่ทำงานร่วมกันไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ขอยกตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหาการจราจรของกรุงเทพฯ มีหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมากมาย ซึ่งหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องน่าจะมีการประสานงานกัน แต่ปรากฏว่าหน่วยงานต่างๆกลับแยกกันทำอย่างอิสระ ดังจะเห็นได้จากงานบางอย่างเกิดความซ้ำซ้อนในขณะที่งานบางอย่างไม่มีผู้ดูแล ครั้นเมื่อถึงเวลาที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขงานของหน่วยงานหนึ่งและงานนั้นจะต้องสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นด้วยกลับไม่มีการประสานงานกันเท่าที่ควร การสอนความรู้ที่ครูเป็นผู้ให้ด้วยความหวังดี แต่ผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญของสิ่งที่ครูให้แต่จำเป็นต้องรับความรู้นั้น ลักษณะนี้เปรียบเสมือนการกรอกความรู้ให้ผู้เรียน การสอนแบบนี้ผู้เรียนจะนั่งฟังครูหรือฟังและจดตามครูอย่างเดียว เมื่อผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญรู้แต่ว่าจะต้องเรียน เป็นอย่างนี้นานเข้าๆจึงเคยชินกับการรอรับความรู้จากครู (มองว่าครูคือผู้สอนหรือผู้นำความรู้มาให้ส่วนตัวผู้เรียนเองคือผู้รอรับการสอน) เมื่อผู้เรียนคิดเช่นนั้นจึงขาดการฝึกแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สังเกตได้จากครูสอนแค่ไหนผู้เรียนก็รู้แค่นั้นความรู้ไม่มีการต่อยอดเพราะสิ้นสุดแค่ในชั้นเรียน ผลจึงปรากฏว่ามีผู้เรียนหลายคนจบการศึกษาออกไปทำงานและได้เผชิญกับปัญหาจริง(โดยเฉพาะปัญหาที่จะต้องมีการแสวงหาแนวทางแก้ไข)แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะปรับตัวไม่ทัน เคยแต่เป็นผู้รับอย่างเดียวไม่เคยแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้มองไม่เห็นปัญหาหรือถ้าเห็นปัญหาก็ละเลยต่อปัญหานั้น เพราะไม่เคยฝึกคิดหาทางแก้ปัญหามาก่อน นอกจากนั้นการเรียนการสอนที่เน้นทฤษฎีมากๆโดยไม่เน้นการปฏิบัติ(เน้นแต่ทฤษฎีที่ครูเป็นผู้ให้อย่างเดียว)ทำให้นักเรียนขาดโอกาสในการปฏิบัติงานขาดการลงมือทำด้วยตนเอง เมื่อผู้เรียนไม่ได้สัมผัสบรรยากาศในการเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้ขาดการเผชิญปัญหา(ไม่รู้ว่าอะไรคือปัญหา) ส่งผลทำให้ขาดการพิจารณาสาเหตุแห่งปัญหา(ไม่รู้ว่าสิ่งใดคือสาเหตุของปัญหานั้น) ขาดการคิดหาแนวทางการแก้ปัญหา และขาดการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหานั้น เมื่อจบออกไปจึงไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานและปัญหาชีวิตได้เท่าใดนัก นอกจากนี้จะเห็นว่าผลผลิตทางการศึกษาของเราส่วนใหญ่ขาดความคิดในการพัฒนาและขาดความคิดสร้างสรรค์ เพราะการเรียนการสอนที่ครูเป็นผู้ป้อนความรู้อย่างเดียวแถมยังตีกรอบให้ปฏิบัติตาม ทำให้ผู้เรียนขาดโอกาสในการคิดแสวงหาแนวทางอื่นๆนอกเหนือจากที่ครูป้อนให้ เช่น ครูสั่งให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมอะไรสักอย่างหนึ่งก็มักจะมีตัวอย่างหรือมีกรอบเพื่อให้ปฏิบัติตาม(การปฏิบัติงานดังกล่าวขอยกเว้นงานที่เสี่ยงต่ออันตรายหรือการเสียหายทางทรัพย์สินหรือกรณีอื่นๆตามที่ท่านเห็นควร) ถ้านักเรียนทำนอกเหนือจากที่ครูบอกถือว่าผิด เช่น การเรียนวิชาศิลปะในสมัยเด็ก ครูก็มักจะวาดรูปให้นักเรียนดูบนกระดานสมมุติว่าครูวาดรูปนก งานที่ครูสั่งให้ทำก็คือวาดรูปนกตามที่ครูสอน ผู้เรียนส่วนใหญ่ก็จะวาดรูปนกตามครู ถ้าสมมุติว่าเด็กชายปรีชานำหลักที่ครูสอนเรื่องการวาดรูปนกมาวาดเป็นรูปกระต่าย เมื่อนำมาส่งก็อาจโดนครูตำหนิได้ การสอนลักษณะดังกล่าวทำให้ผู้เรียนขาดโอกาส"คิด"ในการออกแบบหรือพัฒนาสิ่งใหม่ๆ เพราะยึดติดกับกรอบที่ครูวางไว้จนเคยชิน มีผลทำให้ผู้เรียนไม่สามารถประยุกต์ความรู้ที่เรียนมากับการแก้ปัญหาในการทำงานหรือปัญหาชีวิตได้เพราะถูกตีกรอบทางความคิดจนเคยชิน ยิ่งไปกว่านั้นผลจากการถูกตีกรอบทางความคิดจนเคยชิน ส่งผลทำให้ความคิดต่างๆของผู้เรียนถูกตีกรอบโดยไม่รู้ตัว เมื่อคิดจะทำอะไรสักอย่างหนึ่งเขาก็มักจะตีกรอบทางความคิดขึ้นมาด้วยความเคยชินว่าห้ามทำอย่างโน้น ไม่ควรทำอย่างนี้ ทำให้ขาดความคิดสิ่งใหม่ๆขาดการมองด้วยมุมมองที่หลากหลาย หรือเรียกว่าขาดความคิดสร้างสรรค์นั่นเอง ในด้านหน้าที่ของพลเมือง การเป็นสมาชิกที่ดีนั้นควรจะมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคมด้วย การเรียนการสอนหน้าที่ของพลเมืองส่วนใหญ่มักจะสอนเนื้อหาเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองที่ดี แต่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึก เป็นผลให้ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่มักดูดายต่อปัญหา ขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ปัญหานี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการสอนในชั้นเรียนที่มักจะมีบรรยากาศการเรียนการสอนที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ร่วมกัน ส่วนใหญ่จะมีบรรยากาศการเรียนการสอนที่เป็นวิชาการสูงเน้นทฤษฎีมากผู้เรียนต้องนั่งเรียนอย่างมีระเบียบ ทำให้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันน้อยมาก ในทางกลับกันมีการแข่งขันกันเรียนมากขึ้น ส่งผลทำให้ผู้เรียนขาดความเอื้ออาทรต่อเพื่อน ขาดบรรยากาศที่เป็นกันเอง ทำให้เป็นแหล่งบ่มเพาะบุคลากรที่มี "ความใจแคบ" ออกมาสู่สังคม ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและยากที่จะแก้ไขได้ จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการเสนอเพื่อให้เห็นปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งปัญหาบางส่วนนั้นเกิดจากระบบการศึกษา ความเชื่อและค่านิยมทางการศึกษาของคนไทยที่มีมาแต่อดีต รวมทั้งบางส่วนมาจากวิธีการสอนที่ถ่ายทอดกันมาเป็นรุ่นๆ โดยครูมีบทบาทที่เป็นผู้ให้มากเกินไป(ด้วยความหวังดีหรือความเคยชิน) จนผู้เรียนขาดโอกาสในการเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามผมมิได้มีเจตนาที่จะชี้ให้เห็นว่าการสอนที่มีครูเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้นั้นไม่ดี หรือควรจะยกเลิกการสอนแบบเดิมทั้งหมด จริงๆแล้วการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางมีประโยชน์ และเหมาะสมกับการสอนเนื้อหาหลายๆอย่าง แต่ผมมองว่าการเรียนการสอนควรจะมีทางเลือกอื่นๆที่น่าสนใจและก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีเช่นเดียวกันหรืออาจจะดีกว่า มีการใช้เทคนิคการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก ซึ่งจะมีทั้งทักษะการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลางและผู้เรียนเป็นศูนย์กลางผสมผสานกันไป โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น ให้เขาได้ใช้ความสามารถของเขาตามทางที่เขาถนัด จากปัญหาและสาเหตุเหล่านี้ เราอาจจะตั้งคำถามถามตัวเองว่าควรให้โอกาสเหล่านี้กับนักเรียนของเราหรือไม่ และถึงเวลาหรือยังที่เราจะหาวิธีการสอนวิธีอื่นๆเข้ามาเสริมการเรียนการสอน เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีชีวิตชีวาและมีความสุขในการเรียน มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึก ปฏิบัติ ฝึกเผชิญปัญหาและหาทางแก้ไขด้วยตนเองมากขึ้น เมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาก็ จะเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจและสติปัญญา นอกจากนั้นยังฝึกให้เขาพร้อมที่จะไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างใดก็ตาม เขาจะรู้จักแก้ปัญหาได้ด้วยตัวของเขาเอง ทฤษฎี Constructionism เป็นทฤษฎีหนึ่งที่ผมขอเสนอให้เป็นทางเลือกอีกทาง (อาจจะนำมาใช้ประยุกต์กับการเรียนการสอนของท่านหรือไม่ก็ได้ เพราะเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งเท่านั้น) ในการนำมาใช้พัฒนาการเรียนการสอน |
ปืนกลมือ[แก้]
ปืนกลมือเป็นอาวุธปืนที่ใช้แมกกาซีน มักมีขนาดเล็กกว่าปืนอัตโนมัติแบบอื่นๆ ซึ่งมันนั้นใช้กระสุนของปืนพก ด้วยเหตุนี้เองปืนกลมือจึงมักเรียกกันว่าปืนพกกลโดยเฉพาะเมื่อหมายถึงปืนอย่างสกอร์เปียน วีซี. 61 และกล็อก 18 ตัวอย่างของปืนกลมือได้แก่อูซี่ของอิสราเอลและเอชเค เอ็มพี5 ซึ่งใช้กระสุน 9x19 ม.ม.แบบพาราเบลลัม ปืนกลมือทอมป์สันของอเมริกาที่ใช้กระสุน .45 เอซีพีและเอฟเอ็น พี90 ของเบลเยี่ยมซึ่งใช้กระสุน 5.7x28 ม.ม. เนื่องมาจากขนาดที่เล็กของพวกมันและกระสุนที่ไม่ทะลุทะลวงจนเกินไป ปืนกลมือจึงมักเป็นที่ชื่นชอบในกองทัพและตำรวจโดยใช้ในบริเวณที่เป็นอาคารหรือในเมือง
ชนิดของอาวุธปืนที่คล้ายกันนั้นคืออาวุธป้องกันบุคคลหรือพีดีดับบลิว (Personal Defense Weapon) ซึ่งเป็นปืนกลมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อยิงกระสุนของปืนเล็กยาว ปืนกลมือนั้นได้เปรียบที่ขนาดเล็กและความจุกระสุน แต่ถึงกระนั้นกระสุนของปืนพกที่มันใช้ก็ขาดการทะลุทะลวง ในทางตรงกันข้ามกระสุนของปืนเล็กยาวนั้นสามารถเจาะทะลุเกราะได้และแม่นยำ แต่แม้กระทั่งคาร์บินก็มีขนาดใหญ่เทอะทะจนยากในการใช้งานในที่แคบ ทางแก้ไขของบริษัทผู้ผลิตอาวุธปืนจำนวนมากคือการนำเสนออาวุธที่ผสมปืนกลมือเข้ากับอำนาจการยิงของกระสุนที่ทรงพลังหรือการนำปืนคาร์บินมาผสมกับปืนกลมือนั่นเอง ตัวอย่างเช่น เอฟเอ็น พี90 และเอชเค เอ็มพี7
การศึกษาไทยในปัจจุบัน

การศึกษาของเด็กไทยที่ผ่านมา
มีความพยายามในการยกระดับมาตรฐานทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนเพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยในแต่ละปี ผลที่ออกมามักอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
แม้ประเทศไทยจะมีการทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรียนฟรี 15 ปี รวมถึงโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตรครู 5 ปี) การประเมินวิทยฐานะ ซึ่งทำให้ครูที่มีผลงานดีได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น แต่เหตุใดปัญหาการศึกษาของเด็กไทยยังมีการประเมิณว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งปัญหาด้านการเรียนของเด็กไทยในปัจจุบันอาจวิเคราะห์ได้ว่ามาจากหลายประการ
ปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เด็กมีผลการเรียนอ่อนลง มาจากความสนใจของตัวเด็กเองที่พบว่าเด็กให้ความสนใจเรื่องของเกม และสื่อเพื่อความบันเทิงมากขึ้น ทำให้ความสนใจในการศึกษาหาความรู้ลดน้อยลง ทั้งนี้ เนื่องมาจากสภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ทุ่มเวลาหาเงิน ทำงาน และใช้เงิน ใช้เทคโนโลยีเลี้ยงดูเด็ก เช่น ซื้อทีวี ซื้อเครื่องเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ให้ลูกเล่นอยู่บ้าน เพราะคิดว่าดีกว่า ปลอดภัยกว่าที่จะให้ลูกไปเล่นนอกบ้าน ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อพัฒนาการ
ปัญหาการสอบแอดมิดชั่น เนื่องจากระบบการสอบแอดมิดชั่น เน้นคะแนนสอบเพียงบางวิชาและไม่เน้นความรู้ในเชิงลึกเหมือนการสอบในสมัยเก่า
แหล่งที่มา http://marokimama029.blogspot.com/2016/03/blog-post_26.html
จัดทำโดย ชนัญชิดา สุขสว่าง ป.บัณฑิต รุ่น 17 หมู่ 5
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)