วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การระดมความคิด “Brainstorming” คือ จุดเริ่มต้นของการสร้างคุณภาพผู้เรียน


**สุทัศน์ เอกกาได้กล่าวว่า* Brainstorming เป็นจุดเริ่มต้นของ “กระบวนการบริหารการเรียนการสอน” ที่โรงเรียนต้องทำ เพื่อวางแผนการเรียนการสอน และจัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนรู้มากที่สุด***
คุณครูแบ่งกันออกเป็น “กลุ่มย่อย Subgroup” ตาม “รายวิชา และ ระดับชั้น” เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนขนาดเล็ก มีครูวิทยาศาสตร์ทุกระดับทั้งโรงเรียน เพียง 3.คน ทั้ง 3.คนนี้ ก็เป็นกลุ่ม Brainstorming เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน เช่น
1.ปรับปรุงเนื้อหาในหลักสูตร และหนังสือเรียนให้เป็นปัจจุบัน “เพื่อสร้างเป็นกิจกรรมการเรียนการสอน” ความยากง่ายที่สอดรับกันทุกระดับชั้น การวัดผลประเมินผล “ที่หลากหลายรูปแบบ” และการปรับปรุงคุณภาพของผู้เรียน
2.การจัดการเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีจำนวนน้อย แต่ให้สามารถใช้ได้อย่างคุ้มค่า และทั่วถึง เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ฯ..
3.การปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ทั้งในและนอกสถานที่ ที่ต้องใช้ “ครูจำนวนจำกัด” แต่ครูทุกคนสามารถ “นำการปฏิบัติ” ได้อย่างสมคุณค่า..
การ Brainstorming เป็นกลุ่มย่อย ที่เรียกว่า “ Group Brainstorming” จะได้ผลดีกว่ากลุ่มใหญ่ และ ดีกว่าการทำงานคนเดียว
Group Brainstorming หรือ กลุ่มระดมความคิดนี้ จะสารมารถใช้ประโยชน์จาก “ประสบการณ์ Experience” ได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะ “ความคิดสร้างสรรค์ creativity”ของสมาชิกคนหนึ่งๆ จะได้รับการ “ปรับปรุง Reform” และ “ต่อยอด continuing” จากความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิกคนอื่นๆ ทำให้คนเราสามารถ “พัฒนาความคิดในเชิงลึก develop ideas in greater depth”..การระดมความคิดนี้ ทำให้สมาชิกแต่ละคน “รู้สึกว่า Feel that” ตนเองมี “ส่วนร่วม” ในการแก้ปัญหา และทำให้รู้สึกว่า “คนอื่นๆก็มีความคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าเช่นเดียวกัน Reminds people that others have creative ideas to offer” การระดมความคิดนี้ควรเป็นไปในทาง “สนุกสนาน Brainstorming is also fun” และสามารถนำไปปรับใช่ในการพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด
วัตถุประสงค์ของ “การระดมความคิด หรือ Brainstorming” คือ การสร้างสิ่งใหม่ที่เรียกว่า Innovation ซึ่งอาจเป็น สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ความรู้ใหม่ แนวทางใหม่ๆในการเรียนการสอน ที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ หรือ “สิ่งใหม่อื่นๆ Other Innovation”
ขั้นตอนในการ “ระดมความคิด หรือ Brainstorming” ประกอยด้วยขั้นตอนต่อไปนี้คือ
1.การแสวงหาข้อมูล Exploring Data และการจัดการข้อมูลของสมาชิกทุกๆคน...
คือ การแสวงหาข้อมูล และการจัดการข้อมูลของสมาชิกทุกๆคน..ผู้เขียนขอเรียน “ย้ำ Emphasize” ว่า “ในหัวข้อเดียวกัน ในเรื่องเดียวกัน ในปัญหาเดียวกัน ในโครงงานเดียวกัน” สมาชิกทุกคน “ต้องรู้ปัญหาและหาข้อมูลรอบด้าน To know the issues and find out all Data” ไม่ควรแบ่งเนื้อหาเพื่อให้ภาระ Mission น้อยลง เพราะจะเป็นอุปสรรคต่อการ Brainstorming ที่ต้องอาศัยความคิดของแต่ละคนใน “ทุกๆเรื่อง Everything” ซึ่งในข้อนี้ คุณครูทุกท่านได้ทำมาแล้ว ในขั้นเตรียมตัวครู และบัดนี้คุณครูมีข้อมูล Data อยู่ในมือครบถ้วน
2. การพึ่งพาอาศัยกันของสมาชิกในกลุ่ม เรียกว่า Cooperative การพึ่งพาอาศัยกันของสมาชิกในกลุ่ม …
นี้เป็นเรื่องสำคัญมาก “ในการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุขในสังคมประชาธิปไตย To live together in peace of democratic society” สังคมมนุษย์อยู่ได้ด้วยการพึงพาอาศัยกัน และเติมเต็มให้แก่กันในเรื่องต่างๆ โรงเรียนต้องเป็นสังคมตัวอย่างแห่งความเอื้ออาทร และช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทุกกรณี.. เพื่อ “สร้างความกลมเกลียว ปลูกรักสามัคคี เรียกร้องเอาความเป็นพี่น้องผองไทยกลับคืนมาให้ได้”..จากประสบการณ์ความเป็นครูมาตลอดชีวิต จนวันนี้ 70 กว่าๆ..ฟันธงเป็นการส่วนตัวได้เลยว่า..ความรักใครกลมเกลียวแบบ “พี่น้องผองครูในโรงเรียนสร้างความสำเร็จในการเรียนการสอนและพัฒนาโรงเรียน ให้สำเร็จตามความประสงค์แล้วกว่าครึ่ง”..อีกเกือบครึ่งคือ หลักวิชาการ..เราจึงเรียกร้อง “ความเป็นพี่น้องผองครูในโรงเรียนให้กลับคืนมา”..การพัฒนาการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. นี้ก็เช่นกัน หากมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน Cooperative ตั้งแต่ต้น งานก็ย่อมประสบผลสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่ง เช่นเดียวกัน..
3.การทำงานร่วมกัน Collaborative เพื่อให้ได้ “สิ่งใหม่ Innovation” ซึ่งในแต่ละขั้นตอน ล้วนมีความสำคัญต่อ “การเรียนรู้ Learning”ทั้งสิ้น “การจัดกระบวนการเรียนรู้ Learning Process”จึงไม่ควรข้ามขั้นตอน คือ การทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้ “วิธีใหม่ ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนวัตกรรม The beginning of innovation”
คุณครูทุกท่าน นำข้อมูล Data ทีได้รวบรวมมาจากการ Exploring อย่างรอบด้าน เข้ากลุ่มย่อยของตน ชี้แจง อภิปราย โต้แย้ง นำเสนอบนพื้นฐานของข้อมูลของแต่ละคน จนสามารถสรุปได้อย่างคลอบคลุมทุกด้านของเนื้อหาวิชา เพื่อ ทำเป็นกิจกรรมการเรียนการสอน Teaching and Learning Activities หาแนวทางจัดประสบการณ์ หรือ Experimental Approaches และวิธีการเรียนรู้ How to Learn สำหรับผู้เรียน เพื่อการออกแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ..ตามกระบวนการ Learning by Doing อย่างถูกวิธีต่อไป..
คุณครูควรทำการพิจารณาร่วมกัน หรือ Collaborative ดังนี้
1.กิจกรรมการเรียนการสอน Teaching and Learning Activities ในแต่ละเนื้อหา ของแต่ละระดับชั้น ควรให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร ใช้ PBL ประเภท “คำถาม หรือ โครงงาน เป็นฐานการเรียนรู้ Problem or Project Base Learning” หรือ จะเรียนแบบ Exploring Learning หรือจะเอาแบบ ใช้กิจกรรมเป็นฐานการเรียนรู้ คือ ABL ที่ย่อมาจาก Activity Based Learning หรือจะหาวิธีอื่นๆ ที่มีอยู่มากมายมาประยุกต์ใช้ Application of Learning
2.หาแนวทางจัดประสบการณ์ หรือ Experimental Approaches แนวทางการจัดประสบการณ์นั้น การสร้างสถานการณ์ หรือ Situation เพื่อเป็นประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ หรือ Learning Experience นั้นจะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับรูปแบบการเรียนการสอน เช่น ถ้าเลือก PBL ที่ใช้ ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ หรือ Problem Based Learning จะต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนสารถ “มีประสบการณ์การแก้ปัญหา Experience solution”นั้นๆ จนผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาในตัวเอง
3.วิธีการเรียนรู้ หรือ How to Learn นั้น ในการพิจารณาร่วมกัน หรือ Collaborative นี้ คุณครูจะต้องหา “วิธี How to” ให้ชัดเจนด้วยว่า ผู้เรียนจะเข้าไปมีส่วนร่วมในสถานการณ์นั้นๆได้อย่างไร How to
participate in the Situation” นี้เป็นเรื่องสำคัญ
เมื่อคุณครูในกลุ่มย่อยนี้ ได้ระดมความคิด Brainstorming จนถึงขั้น Collaborative และทำสรุป แยกเป็นหมวดหมู่ เรื่องใด ระดับชั้นใด และโดยเฉพาอย่างยิ่ง “รูปแบบการเรียนการสอน Form of instruction.” ที่ได้จากการระดมความคิด ว่าเนื้อหาส่วนไหน จะเรียนรู้แบบไหน How to Learn ผู้เรียนจะได้มีส่วนร่วม หรือ Experience Participation วิธีไหน เพื่อจะได้นำไป “ออกแบบการเรียนการสอน Learning and Teaching Design”เพื่อการปฏิบัติอย่างได้ผลในการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. นั้นคือ การทำแผนปฏิบัติการ Workshop >> การออกแบบการเรียนการสอน Instructional Design >> ทำแผนการเรียนร่วมกับผู้เรียน Learning Plan >> การวางแผนวัดผล Assessment Plan ต่อไป..
ผมขอเรียนเพิ่มเติมอีกสักนิด..สำหรับคุณครูต่างโรงเรียน ก็สามารถปรึกษาหารือกันได้โดยง่าย ด้วยโลก Online ดังนี้ครับ
ในโลกแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน และ เครื่องมือสื่อสารล้ำยุคนี้ การระดมความคิด Brainstorming ตลอดจนการทำงานร่วมกัน Collaborative สามารถทำได้ตลอดเวลา เรียกว่า Online Brainstorming และ Online Collaborative ที่ทุกคนไม่จำเป็นต้องอยู่ในที่เดียวกัน
ใช้การสื่อสาร ICT นี้ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนการสอนของคุณครู เพื่อสร้างคุณภาพของผู้เรียนทุกๆด้าน..นะครับ
ที่มาhttps://www.facebook.com/ajWiriya/
จัดทำโดย นางสาวศิริญา โพธิ์ผลิ รหัสนักศึกษา 587190524

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น