วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บันทึกความรู้จาก COP กลุ่มที่ 1

แบบบันทึกความรู้ เรื่อง ประสบการณ์ความสำเร็จในงานด้านการสอน
กลุ่มที่ 1 นศ.ป.บัณฑิต รุ่นที่ 17 วิชาชีพครู หมู่ 5


รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
  1. นางสาวแพรไหม แดงบำรุง        ประธาน       รหัสนักศึกษา 587190514
  2. นางสาวพชรพรรณ โดมขุนทด    เลขานุการ   รหัสนักศึกษา 587190518
  3. นางสาวระติภรณ์ หมกคล้าย       สมาชิก        รหัสนักศึกษา 587190501
  4. นายวิษณุ จำปาอ่อน                  สมาชิก        รหัสนักศึกษา 587190521
  5. นายนพพล สุภารักษ์                  สมาชิก        รหัสนักศึกษา 587190528
บันทึกเล่าเรื่องของแต่ละคน
  • คนที่ 1 : นางสาวพชรพรรณ โดมขุนทด สอนวิชาเกษตรที่โรงเรียนวัดประโมทย์ จังหวัดสมุทรสงคราม โดยให้นักเรียนได้ลงมือตอนกิ่งด้วยตนเอง โดยนักเรียนได้ลงมือทำด้วยตนเองทุกขั้นตอน อีกทั้งยังให้นักเรียนได้ฝึกปฎิบัติด้วยตนเองที่บ้านและนำผลงานกลับมาส่งครูที่โรงเรียน จึงทำให้นักเรียนสามารถขยายพันธ์พืชได้ด้วยตนเอง และเนื่องจากโรงเรียนวัดประโมทย์เป็นโรงเรียนที่แวดล้อมไปด้วยสวนผลไม้ เมื่อนักเรียนสามารถขยายพันธ์พืชได้ด้วยตนเองแล้วนั้น ทำให้นักเรียนสามารถช่วยผู้ปกครอง ครู และทางโรงเรียนเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและช่วยเพิ่มรายได้ได้อีกด้วย
  • คนที่ 2 : นางสาวแพรไหม แดงบำรุง สอนวิชาภาษาอังกฤษที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาดรุณาราชบุรี ซึ่งทางวิทยาลัยได้เป็นผู้จัดทำหนังสือแบบเรียนวิชาภาษาอังกฤษขึ้นเองโดยอิงหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา โดนอิงทฤษฎี 4 ขั้นตอน หรือ 4-Step มาใช้ในการสร้างแบบเรียนและสื่อการสอนสำหรับนักเรียนจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียนเป็นอย่างมาก เนื่องจากทฤษฎี 4 ขั้นตอน หรือ 4-Step นั้นจะเริ่มจากการการปูพื้นฐานทางภาษา โดยเริ่มจากการส่วนที่เล็กที่สุดของภาษา คือ การออกเสียงอักษร A-Z เสียงสระ เสียงอักษรประสม สระเสียงสั้น สระเสียงยาว จากนั้นเริ่มเข้าสู่การประสมคำและการออกเสียงเป็นคำ โดยเริ่มจากคำศัพท์เบื้องต้น และคำศัพท์ในบทเรียน พอนักเรียนเริ่มคุ้นเคยกับคำศัพท์ก็จะเข้าสู่เรื่องไวยากรณ์ และ โครงสร้างประโยค ในส่วนสุดท้ายของบทเรียนจะเปนการบูรณาการความรู้จากส่วนที่ 1-3 มาใช้ในการอ่าน ฟัง และตอบคำถามท้ายบทเรียน ซึ่งทฤษฎี 4 ขั้นตอน หรือ 4-Step นั้นประกอบไปด้วย 
    • ขั้นที่ / Step 1: Vowel and Sound คือ การฝึกออกเสียงพยัญชนะและสระภาษาอังกฤษ 
      • Alphabet and Vowel Sound คือ การฝึกออกเสียงพยัญชนะและสระภาษาอังกฤษ รวมทั้งสระประสม และ อักษรควบกล้ำ หรืออักษรประสม 
      • Pronunciation Drill ฝึกการออกเสียงสระสั้นและยาว ออกเสียงคำศัพท์ วลี หรือประโยคง่ายๆ
    • ขั้นที่ / Step 2 : Vocabulary สำหรับระดับชั้น ปวช. 2 คำศัพท์จะเริ่มต้นที่ 20 - 30 คำโดยคำศัพท์ที่นักเรียนต้องเรียนนั้นจะเป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในแต่ละบท 
    • ขั้นที่ / Step 3 : Grammar Focus and Sentence Structure แบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของไวยากรณ์ และส่วนโครงสร้างประโยค 
      • ส่วนของไวยากรณ์ คือ ไวยากรณ์เบื้องต้นที่นักเรียนควรทราบ เช่น คำคุณศัพท์ (Adjective) นักเรียนควรทราบหน้าที่ของคำคุณศัพท์และการนำไปใช้ หรือไวยากรณ์ขั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน เช่น นักเรียนทราบหน้าที่และการนำไปใช้ของ คำคุณศัพท์ (Adjective) แล้ว นักเรียนควรทราบประเภทของคำคุณศัพท์ ความแตกต่างของคำคุณศัพท์แต่ละประเภทรวมถึงการนำคำแต่ละประเภทไปใช้ในประโยค อีกทั้งนักเรียนควรทราบวิธีการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในระดับขั้นกว่า ( Comparative ) และขั้นสุด ( Superative ) อีกด้วยเพื่อเป็นการปูความรู้แก่นักเรียนในการเรียนเรื่องโครงสร้างประโยค หรือ ใช้ในการแต่งประโยค เป็นต้น 
      • ส่วนเรื่องโครงสร้างประโยคนั้นจะเป็นการนำไวยากรณ์ที่นักเรียนได้เรียนมา ประกอบเป็นประโยคซึ่งประโยคหลักๆที่นักเรียนจะได้เรียนประกอบไปด้วย ประโยคบอกเล่า หรือ Affirmative Sentence, ประโยคปฎิเสธ หรือ Negative Sentence และ ประโยคคำถาม หรือ Interrogative Sentence 
    • ขั้นที่ / Step 4 : Comprehension and Conversation เป็นขั้นบูรณาการความรู้ นั่นคือนักเรียนจะต้องนำความรู้ที่ได้เรียนมาจาก ขั้นที่ 1-3 มาใช้ในการเรียนขั้นนี้ในการอ่าน ฟัง หรือตอบคำถาม
      • Reading Comprehension คือ การอ่านเนื้อเรื่องแล้วตอบคำถาม
      • Listening Comprehension คือ การฟังแล้วตอบคำถาม
  • คนที่ 3 : นายวิษณุ จำปาอ่อน สอนวิชาคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม ได้นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยเริ่มจากการละลายพฤติกรรมนักเรียน เกริ่นนำบทเรียน แนะนำเกมส์และวิธีการเล่น เพื่อให้นักเรียนเกิดความผ่อนคลายและคุ้นเคยกับครูผู้สอน เมื่อนักเรียนเกิดความคุ้นเคยและผ่อนคลายจะทำให้นักเรียนมี ความสุขและสนุกไปกับการเรียนการสอน
  • คนที่ 4 : นางสาวระติภรณ์ หมกคล้าย สอนวิชาคณิตศาสตร์ที่โรงเรียนวัดสมถะ ใช้หลักในการสอนที่ให้ความรู้สึกว่าครูคือเพื่อนของนักเรียน ให้นักเรียนมีความคุ้นเคย กล้าพูดกล้าคุย กล้าถามครูมากขึ้น ทำให้นักเรียนสนุกไปกับการเรียนการสอน อีกทั้งยังมีการให้รางวัลและคำชมเชยกับนักเรียนที่ตอบคำถามได้หรือตั้งใจเรียนดี เพื่อเป็นแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนอีกด้วย
  • คนที่ 5 : นายนพพล สุภารักษ์ สอนวิชาช่างกลและเขียนแบบเบื้องต้นที่วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ได้มีโครงการ MOU (Memolandum Of Understanding) หรือ การทำความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ โดยทั้งสถานศึกษาและวิทยาลัยจะได้ประโยชน์อย่างมากมายจากการทำความร่วมมือนี้ เช่น ทางสถานศึกษาได้ส่งนักเรียนไปฝึกงานตรงตามสาขาที่ได้เรียนมา ทำให้นักเรียนได้ใช้ความรู้และประสบการณืที่ได้เรียนมาอย่างเต็มที่ อีกทั้งทางสถานประกอบการจะได้ช่างที่ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการนั้น ๆ อีกด้วย
สรุปความรู้ที่ได้รับจากเรื่องเล่าของทุกคน
ครูแต่ละคนต่างมีแนวทางในการดึงดูดความสนใจในการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนที่แตกต่างกัน โดยคำนึงถึงอายุ ชั้นปี และวิชาที่สอนเป็นหลัก ซึ่งการจัดการเรียนการสอนนั้นควรมีความยืดหยุ่นและหลากหลาย เหมาะสมแก่ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน แต่ละชั้น ทั้งนี้การจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างและหลากหลายนั้นเป็นการแสดงศักยภาพของผู้สอนว่ามีความสามารถในการปรับ จัด และออกแบบการเรียนการสอนที่แตกต่างกันอย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นงานที่ท้าทายอย่างหนึ่งของอาชีพครู
วันที่บันทึกความรู้  9 กรกฎาคม 2559 วันที่ส่งบันทึกความรู้ 13 กรกฎาคม 2559

*************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น